Thailand Learning City Platform

การขับเคลื่อนแพลตฟอร์มการเรียนรู้ประเทศไทย
บรรยายโดย ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย 
ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาการขับเคลื่อนวิทยสถาน “ธัชภูมิ” เพื่อการ พัฒนาพื้นที่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) 

การบรรยายครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ งานประชุมสัมมนาเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวกสาม (ASEAN+3 REGIONAL LEARNING CITIES CONFERENCE 2024) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 29 – 30 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา


“นโยบายเชิงยุทธศาสตร์ของแพลตฟอร์มเมืองการเรียนรู้ประเทศไทย เป็นกรอบการทำงานที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาทั่วประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาตนเอง การเติบโตทางเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคม โดยมุ่งหวังที่จะจัดการกับประเด็นต่างๆ ของการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ ซึ่งประเด็นสำคัญที่ว่าประกอบด้วย 6 ด้าน เชื่อมโยงเป็นโครงสร้างและกลไก เมืองแห่งการเรียนรู้ประเทศไทย Thailand Learning City Platform ประกอบไปด้วย 6 ด้าน

1. การจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ของเมือง (Learning City Academy and Forum)
สถาบันการเรียนรู้ของเมืองจะเป็นศูนย์รวมทรัพยากรทางการศึกษา โปรแกรมการฝึกอบรม และโอกาสในการสร้างเครือข่ายสำหรับผู้นำเมือง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ สนับสนุนเสริมสร้างศักยภาพในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาหลักสูตร นวัตกรรมทางการสอน การมีส่วนร่วมของชุมชน และการสนับสนุนนโยบาย ที่จะช่วยให้เมืองต่างๆ สามารถสร้างทักษะ และความเชี่ยวชาญที่จำเป็นในการนำกลยุทธ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีประสิทธิผลไปใช้

2. การประเมินการเรียนรู้ และการวิจัยเชิงกลยุทธ์
การประเมินการเรียนรู้ และการวิจัยเชิงกลยุทธ์มีความสำคัญต่อการรักษาประสิทธิภาพ และการจัดแนวทางของเมืองแห่งการเรียนรู้ให้สอดคล้อง กับเป้าหมายการศึกษาระดับชาติของประเทศไทย
ผ่านการประเมินอย่างเป็นระบบ และการวิจัยเชิงกลยุทธ์ ทำให้สามารถมองข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นต่อการตัดสินใจด้านนโยบาย ปรับปรุงผลลัพธ์ และเน้นย้ำถึงคุณค่าของเมืองแห่งการเรียนรู้ การเน้นย้ำถึงแนวทางปฏิบัติที่มีการวิจัยเป็นแหล่งอ้างอิงจะช่วยให้แน่ใจว่าการริเริ่มการเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืน 

3. การมอบรางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้
การมอบรางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ทำหน้าที่เป็นต้นแบบ และแรงจูงในในการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทำให้เกิดการยอมรับในความสำเร็จของเมือง รางวัลนี้จะช่วยสร้างความตระหนักรู้ให้กับสาธารณชน ถึงนโยบายที่เกี่ยวกับเมืองแห่งการเรียนรู้ และกระตุ้นให้เมืองต่างๆ มีมุ่งมั่น และทะเยอทะยานที่จะร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ไปพร้อมกัน

“รางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ประเทศไทย”
เป้าหมายของรางวัล
รางวัลนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ผู้นำเมือง หรือตัวแทนของผู้นำเมือง นำกรอบการทำงาน และกลยุทธ์ของเมืองแห่งการเรียนรู้มาใช้เพื่อแก้ไข และจัดการความท้าทายต่างๆ ในชุมชนของตน โดยตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น
🔻ความมุ่งมั่นของผู้นำเมือง กลไกของเมือง และแผนการพัฒนา
🔻ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบของกระบวนการเรียนรู้ที่พิสูจน์ได้
🔻การเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้
🔻การนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาใช้
🔻การวางแผนสำหรับอนาคต

4. ฐานข้อมูลเมืองแห่งการเรียนรู้ และแพลตฟอร์มดิจิทัล
การจัดเตรียมฐานข้อมูลที่ครอบคลุมแหล่งข้อมูลการศึกษา สนับสนุนองค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ การเข้าถึงความรู้ ข้อมูล เครื่องมือ และแหล่งเงินทุนเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเมืองต่างๆ มีทรัพยากรที่จำเป็นในการริเริ่มการศึกษาที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม และเข้าถึงได้ เป็นแนวทางการพัฒนาการศึกษาที่สามารถเติบโต และขับเคลื่อนให้เป็นวาระแห่งชาติสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5. เทศกาลเมืองแห่งการเรียนรู้
เทศกาลเมืองแห่งการเรียนรู้จะเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่บ่งบอกความก้าวหน้าของเมืองแห่งการเรียนรู้ทั่วประเทศไทย เทศกาลเมืองแห่งการเรียนรู้นี้ไม่เพียงแต่เน้นย้ำถึงความสำเร็จของเมืองแต่ละแห่งเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างเครือข่าย ความเชื่อมโยงร่วมกันในระดับประเทศ ในการสร้างเมืองเรียนรู้ตลอดชีวิตอีกด้วย

6. การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
Lifelong Learning Booster เป็นส่วนสนับสนุนเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างเป็นทางการ โดยทำหน้าที่ส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตนอกเหนือจากรูปแบบเดิมๆ ซึ่งรวมถึงโครงการริเริ่มในชุมชน โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ และเวิร์กช็อปพัฒนาทักษะที่มุ่งเน้นที่การเสริมทักษะให้บุคคลทุกวัยสามารถแสวงหาการเรียนรู้

Lifelong Learning Booster จะช่วยสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ส่งเสริมการรวมกลุ่มทางสังคม, การเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ และ การบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของแต่ละบุคคล

โดยสรุปแล้ว การขับเคลื่อนแพลตฟอร์มการเรียนรู้ประเทศไทย Thailand Learning City Platform คือ ความพยายามที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ โดยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นหัวใจสำคัญ และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของเมืองต่างๆ บวกเข้ากับการเชื่อมโยงเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน โดยมีการวิจัย การจัดหาทรัพยากร และความร่วมมือเข้ามาเป็นองค์ประกอบหนุนเสริม
โดยหวังว่าการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มการเรียนรู้ประเทศไทยจะเป็นการวางรากฐานสำคัญสำหรับอนาคตที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตจะถูกบูรณาการเข้ากับชีวิตประจำวัน เพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดี และความเจริญรุ่งเรืองของพลเมืองทุกคน

Share :