บรรยายโดย Mr. Raúl Valdés-Cotera
หัวหน้าทีม ทักษะตลอดชีวิต สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก UNESCO Institute for Lifelong Learning (UIL) และผู้ประสานงานเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับโลกของยูเนสโก
การบรรยายครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ งานประชุมสัมมนาเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคอาเซียนบวกสาม (ASEAN+3 REGIONAL LEARNING CITIES CONFERENCE 2024) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 29 – 30 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา
.
“การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามสัญชาตญาณ จึงเป็นเรื่องของวิธีการสร้างการเรียนรู้ ที่จะช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบ หรือการศึกษานอกระบบ การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ผ่านสภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ ดังนั้น การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตระดับโลก จึงเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับความท้าทายที่มนุษยชาติกำลังเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบัน และอนาคต
.
เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน คือการมีแผนแม่บทในการมุ่งสู่อนาคตที่ดีและยั่งยืนมากขึ้นสำหรับทุกคน เป้าหมายดังกล่าวจะช่วยแก้ไขปัญหาระดับโลกที่เราเผชิญอยู่ รวมถึงความยากจน ความไม่เท่าเทียม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม สันติภาพ และความยุติธรรม
.
ในปัจจุบัน 55% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในเขตเมือง
เมือง จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในระดับท้องถิ่น องค์กรท้องถิ่นจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาเมือง และภูมิภาค
จากเขตเมือง ชานเมือง ไปจนถึงพื้นที่ชนบท ความเปลี่ยนแปลจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อสร้างการการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งให้เกิดการทำงานร่วมกัน และให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
.
และนี่คือ ที่มาของเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก UNESCO Global Network of Learning Cities (GNLC)
แล้ว UNESCO GNLC คืออะไร?
UNESCO GNLC ก่อตั้งขึ้นในปี 2013 เป็นเครือข่ายระหว่างประเทศที่มุ่งเน้นและส่งเสริมการพัฒนานโยบายซึ่งให้แรงบันดาลใจ,ความรู้ความสามารถ และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับทุกประเทศ โดยมีสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก UNESCO Institute for Lifelong Learning (UIL) ทำหน้าที่สนับสนุน และปรับปรุงแนวทางปฏิบัติด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตในเมืองต่างๆ ผ่านการส่งเสริมการหารือด้านนโยบาย และการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเมืองสมาชิก สร้างความเชื่อมโยง ส่งเสริมความร่วมมือ พัฒนาศักยภาพ และพัฒนาเครื่องมือเพื่อส่งเสริม และรับรองความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ ในปัจจุบัน UNESCO GNLC มีสมาชิกเป็น 356 เมืองใน 79 ประเทศทั่วโลก ที่กำลังช่วยกันสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่นของการเรียนรู้ตลอดชีวิต สนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับท้องถิ่นและได้รับประโยชน์จากโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
คุณลักษณะสำคัญที่จะนำไปสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ 6 ประการ ได้แก่
1. การส่งเสริมการเรียนรู้ ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงอุดมศึกษา
2. สร้างกระบวนการการเรียนรู้ในครอบครัวและ ชุมชน
3. การอำนวยให้มีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในที่ทำงาน
4. การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการเรียนรู้ ที่ทันสมัย
5. การส่งเสริมคุณภาพและความเป็นเลิศในการเรียนรู้
6. การสนับสนุนวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การวางแผนและติดตามความคืบหน้านั่น คือ คุณลักษณะสำคัญของการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ซึ่งการพัฒนาวิสัยทัศน์ และแผนการสร้างการเรียนรู้ กฎบัตรการเรียนรู้เบลฟาสต์ (The Learning Charter for Belfast) กำหนดหลักการ และแนวทางที่ต้องได้รับการรับรองโดยองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ได้แก่
◾️การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทุกรูปแบบ
◾️การพัฒนาแนวทางที่ครอบคลุม และสร้างสรรค์สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านความร่วมมือของเครือข่าย
◾️การทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักเพื่อให้มั่นใจถึงความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงารเรียนรู้ตลอดชีวิต
◾️การปรับเปลี่ยนทักษะในปัจจุบัน และอนาคตให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจของไอร์แลนด์เหนือที่เป็นหัวใจของการเรียนรู้
.
ยกตัวอย่างพื้นที่การเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ชุมชนแบบบูรณาการ
เมืองคอร์ก ประเทศไอร์แลนด์
มีกลุ่ม Learning Neighborhoods ในพื้นที่ ที่มอบโอกาสในการเรียนรู้ที่ครอบคลุมและหลากหลายสำหรับทั้งชุมชนผ่านการเป็นหุ้นส่วน และความร่วมมือกัน และกลุ่ม Programme Steering ทำงานร่วมกับองค์กรการเรียนรู้และการศึกษา และผู้อยู่อาศัยในแต่ละพื้นที่เพื่อส่งเสริม และพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตในท้องถิ่น
เมืองอึนพยอง (Eunpyeong) สาธารณรัฐเกาหลี
ในปี 2015 เกิด “Village Exploration Project” ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมระหว่างการเรียนรู้ในห้องเรียนและประสบการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง Village Exploration Project มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และทรัพยากรธรรมชาติ โดยมุ่งเป้าไปที่นักเรียนระดับประถมศึกษาในชั้นปีที่ 10-12 และครูประจำชั้น การเรียนรู้เกิดขึ้นในห้องเรียนของโรงเรียนและในสถานที่มรดกท้องถิ่นต่างๆของสถาบัน (เช่น ห้องสมุดและสหกรณ์) และสถานที่ธรรมชาติผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตอึนพยองฝึกอบรมครูประจำหมู่บ้าน พัฒนาและวางแผนหลักสูตร และพัฒนามัคคุเทศก์ในสื่อการเรียนรู้ เป็นต้น
.
ทิศทางในอนาคตในปี 2025-2030 ของ UNESCO GNLC
◾️สนับสนุนเมืองต่าง ๆ ในการติดตาม และประเมินความคืบหน้าในการดำเนินการเพื่อให้กลายเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้
◾️ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย และภาคเอกชนในการแสวงหาความยั่งยืน
◾️เสนอหลักสูตรเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพที่ปรับแต่งได้
◾️พัฒนาแพลตฟอร์มของเมืองตามความสนใจ และจุดเน้น
◾️ขยายขอบเขตของวาระการประชุมเมืองแห่งการเรียนรู้สำหรับการวิจัย การสนับสนุน และการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ