ก้าวสู่เศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย
คงไม่ต้องถกเถียงกันแล้วว่าปรากฏการณ์โลกรวน มีจริงไหม เพราะผลกระทบแบบทันตาเห็นในพ.ศ.นี้ได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งน้ำท่วม พายุ และความแปรปรวนของสภาพอากาศที่ส่งผลกับพืชพันธุ์ ท้องทะเล และอุณหภูมิร้อนหนาวที่รับรู้ได้ชัดเจน
หนึ่งในคำตอบที่ทั่วโลกเริ่มเสาะแสวงหา และเชื่อว่าเป็นทางออกสำคัญ คือ การสร้าง “เศรษฐกิจสีเขียว” (Green Economy) ด้วยคาดหวังว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ช่วยปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของเรา สร้างความเท่าเทียมทางสังคม รับผิดชอบและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น
ด้วยทิศทางการพัฒนาทั้งในระดับโลกและระดับในระดับประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับการสร้าง “เศรษฐกิจสีเขียว” (Green Economy) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) จึงได้ผลักดันและสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จึงได้ประกาศกรอบสนับสนุนงานวิจัย “เศรษฐกิจสีเขียว” (Green Economy) เพื่อให้เกิดการศึกษาเก็บข้อมูลเมือง พัฒนาและยกระดับห่วงโซ่เศรษฐกิจสีเขียว สนับสนุนกลไกการพัฒนา การใข้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมไปถึงสนับสนุนให้เกิดแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของเมือง และพื้นที่โดยรอบที่สนับสนุนและสัมพันธ์กับรากฐานเศรษฐกิจสีเขียว
โดยในปีนี้ได้สนับสนุนงบประมาณการวิจัยเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว ทั้งหมด 8 เมือง ได้แก่
1. เทศบาลเมืองดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
2. เทศบาลเมืองคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
3. เทศบาลเมืองปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
4. เขตบางขุนเทียน จ.กรุงเทพฯ
5. เทศบาลเมืองสกนคร อ.เมือง จ.สกลนคร
6. เทศบาลนครอุบลราชธานี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
7. จ.ราชบุรี
8. เทศบาลนครเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ทั้ง 8 เมือง มีประเด็นการสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ผ่านวิธีการ เครื่องมือ และเป้าหมายที่แตกต่างกัน และจะเป็นกรณีศึกษาที่ดีเยี่ยม สำหรับก้าวแรกของการสร้างเศรษฐกิจสีเขียวอย่างเป็นรูปธรรมของประเทศไทย
แล้วพบกับบทความชุดเศรษฐกิจสีเขียวประเทศไทยที่นี่เร็วนี้ๆ
