ก้าวสู่เมืองน่าอยู่และชาญฉลาด
“เมืองน่าอยู่” ที่ว่า “น่าอยู่” ดูกันที่ตรงไหน วัดจากอะไร และบริบทแบบไทยๆ ความน่าอยู่ที่เราฝันถึง จะเติบโต และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร ไม่มีใครสามารถการันตีได้ …วิถีทางที่ดีที่สุดสำหรับผู้อยู่อาศัยในเมือง คือ การเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ช่วยกันออกแบบ และสร้างสรรค์ “ความน่าอยู่” ขึ้นมาให้กับเมือง ตามที่เราอยากเห็น และฝันถึง
ด้วยความตระหนักรู้ถึงบทบาทของพลเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับในระดับประเทศ หนึ่งในหมุดหมายสำคัญตามกรอบยุทธศาสตร์ประเทศ 20 ปี (พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2580) ก็ได้ระบุถึง การพัฒนาพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย และเติบโตอย่างยั่นยืน เป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนา ด้วยเหตุนี้ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) จึงได้ผลักดันและสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จึงได้ประกาศกรอบสนับสนุนงานวิจัย “การพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด” (Livable & Smart City) เพื่อให้เกิดการริเริ่มพัฒนาเมืองไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่และชาญฉลาดตามเป้าหมายการพัฒนาประเทศ
โดยในปีนี้ได้สนับสนุนงบประมาณการวิจัยเรื่อง การพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด” (Livable & Smart City) ทั้งหมด 6 เมือง ได้แก่
1. เทศบาลนครเชียงราย เชียงราย
2. เทศบาลเมืองลำพูน ลำพูน
3. เทศบาลนครพิษณุโลก พิษณุโลก
4. เทศบาลนครนครสวรรค์ นครสวรรค์
5. เทศบาลนครสกลนคร สกลนคร
6. เทศบาลเมืองทุ่งสง นครศรีธรรมราช
และมีพื้นที่เป้าหมาย 11 แห่ง ที่จะริเริ่มพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
11 อปท. ได้แก่ 1. เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี 2. เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 3. เทศบาลเมืองตราด จังหวัดตราด 4. เทศบาลเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 5. เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 6. เทศบาลเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา 7. เทศบาลเมืองตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 8. เทศบาลเมืองสามพราน จ.นครปฐม 9. เทศบาลตำบลลำพญา จ.นครปฐม 10. เทศบาลตำบลแม่จัน จ.เชียงราย 11. เทศบาลตำบลนางแล จังหวัดเชียงราย
นอกจาก 6 เมือง และ 11 พื้นที่เป้าหมาย บพท. ได้เชื่อมโยงความร่วมมือกับ อปท. 21 แห่ง ที่มีศักยภาพและความพร้อมของด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอยู่ในระดับที่มีความพร้อมสำหรับการพัฒนา โดยเฉพาะความพร้อมของผู้บริหาร และบุคลากรที่ได้รับสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของดิจิทัลเทคโนโลยี และความจำเป็นของการมีฐานข้อมูลเมือง เพื่อการพัฒนาและการค้นหา “ของดี Smart” โดย 21 อปท. แห่ง ได้แก่ 1. เทศบาลตำบลแพรกษา, 2. เทศบาลตำบลบ้านนา, 3. เทศบาลตำบลละหานทราย, 4. เทศบาลตำบลท่ายาง, 5. เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ, 6. เทศบาลตำบลบ้านเพชร, 7. เทศบาลตำบลวิหารแดง, 8. เทศบาลตำบลแวงน้อย, 9. เทศบาลตำบลน้ำแพร่พัฒนา, 10. เทศบาลตำบลท่าสุด, 11. เทศบาลตำบลเกาะคา, 12. เทศบาลตำบลเมืองเก่า 13. เทศบาลตำบลพระแท่น, 14. เทศบาลตำบลห้วยเม็ก, 15. เทศบาลตำบลเกาะแต้ว, 16.เทศบาลตำบลบ้านกลาง, 17. เทศบาลตำบลหนองกี่, 18. เทศบาลตำบลคอนสวรรค์, 19. เทศบาลตำบลดงขุย, 20. เทศบาลตำบลบ้านเพชรภูเขียว และ 21. เทศบาลตำบลเหนือคลอง
ติดตามการพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด ผ่านโครงการวิจัยและความร่วมมือจาก พลเมือง อปท. และ บพท. ได้ที่ The City Leaders เร็ว ๆ นี้
