[ เสวนาแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่การค้าสร้างเศรษฐกิจพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ] 21 ก.ย.67 ณ TK Park เมืองปัตตานี
ผู้ร่วมเสวนา
– อาจารย์ บุญเยี่ยม เหลาสะอาด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท.
– ผศ.ภาวิน ชินะโชติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
– รศ.ดร.มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์
ดำเนินรายการโดย ดร.ปภาวัลย์ สุทธิประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
[Key Idea]
อาจารย์ บุญเยี่ยม เหลาสะอาด
ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท.
“การเรียนรู้ตลอดชีวิต จริงๆ แล้วเป็นภารกิจของเราทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อยากให้มองว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดแค่การเรียนในหรือนอกระบบ แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตที่ดี การเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการสำคัญของการสร้างความเปลี่ยนแปลง การพัฒนาตัวเอง การประกอบอาชีพ ล่าสุดผลการประเมิน PISA (โปรแกรมการประเมินวัดระดับนักเรียนทั่วโลกที่จัดโดย OECD โดยจะเป็นการสอบประเมินผลของนักเรียนระดับอายุ 15 ปี ทั่วโลก) อันดับของประเทศไทยต่ำกว่าระดับ 2 ซึ่งเป็นระดับความรู้และทักษะเพื่อใช้ชีวิตปกติ นี่เป็นปรากฏการณ์สำคัญที่เราควรจะร่วมกันทบทวนว่าเกิดอะไรขึ้นกับ การศึกษาและการเรียนรู้ของประเทศเรา
โจทย์ของเราวันนี้จึงมีอยู่ว่า เราต้องสร้างการเรียนรู้ให้กับคนของเราอย่างไร? กรอบคิดหลักของ บพท. กับงานวิจัย Leaning City มองว่า ‘การเรียนรู้ คือ เครื่องมือที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น’ นี่เป็นคำถามสำคัญมากๆ ว่า เรา(คนปัตตานี)มองปลายทางอนาคตที่ดีของ ปัตตานี ไว้อย่างไร? งานของบพท. คือตรงนี้ คือการสนับสนุน ให้เกิดการค้นหา และร่วมพัฒนาพื้นที่ โดยใช้การเรียนรู้ หาโจทย์แล้วไปทดลองทำ และส่งต่อสู่พื้นที่และหน่วยงาน Function ในท้องถิ่น ในพื้นที่สร้างการพัฒนาต่อเนื่อง ….สุดท้ายเรื่องทั้งหมดจะกลับมาที่คนของเรา การเรียนรู้เพื่อ‘พัฒนาคน’ แก้ Pain Point ของพื้นที่จะเป็นแบบไหน ความรู้และคำตอบนั้นอยู่ที่ใด นักจัดการการเรียนรรู้คือใคร เครื่องมือที่จะส่งต่อความรู้ที่เหมาะสมคืออะไร จึงเป็นโจทย์ของพื้นที่ว่าเราจะต้องช่วยกันขบคิด ทดลอง หาคำตอบให้กับพื้นที่ด้วยกัน
รศ.ดร.มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีย์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์
สำหรับ มอ. การขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น และพัฒนาคน ด้วยเครื่องมือการศึกษา คือหน้าที่ของเรา และเราใช้เครื่องมือนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และแก้จน สร้างเศรษฐกิจ จริงๆ ที่ปัตตตานี มอ. มีคณะวิทยาการอิสลาม คอยทำงานขับเคลื่อนท้องถิ่น พร้อมโครงการที่อาศัยต้นทุนท้องถิ่น กับการเรียนรู้ มาแสวงหาโอกาสใหม่ให้กับการพัฒนาเมือง การพัฒนาศักยภาพของคนส่งเสริม Critical Thinking เช่นเรามองว่า ฮาลาลก็ไม่ใช้แค่เรื่องอาหารการกิน แต่คือวิถีการผลิตที่สามารถต่อเติมนำนวัตกรรมเข้าไปช่วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และคุณภาพในการผลิตภัณฑ์มากขึ้น หรืออย่างการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมาเลเซีย ที่ผ่านปัตตานี นักท่องเที่ยวนำเงินและโอกาสผ่านหน้าบ้านเราทุกวัน เราจะทำยังไงให้คนในพื้นที่สามารถฉวยโอกาสตรงนี้ไว้ได้ นี่คือเรื่องการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะที่ควรให้ความสำคัญ
สำหรับการศึกษาในระบบ ผมมองว่าการศึกษาแกนกลางที่กำหนดโดยส่วนกลาง พร้อมกับตัวชี้วัด จำเป็นต้องร่วมกันค้นหา และสร้างการเรียนรู้ที่คำนึงและเหมาะสมกับท้องถิ่นเข้ามาเสริม เพื่อให้การเรียนรู้สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เรียนได้โดยตรง และทันที สิ่งนี้ยังต้องใช้เวลา และความร่วมมืออีกมาก แต่ก็เป็นแนวทางที่เกิดประโยชน์กับท้องถิ่นแน่นอนครับ
ผศ.ภาวิน ชินะโชติ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
“การเข้ามาทำงานวิจัยในพื้นที่ปัตตานี โดยใช้เครื่องมือการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ จากการลงพื้นที่พูดคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผมเห็นช่องว่างสำคัญ คือ การทำงานของรัฐกับชุมชนในเรื่องการพัฒนาคน และพัฒนาธุรกิจที่ชุมชนสนใจอยากจะยกระดับ ช่องว่างแรกที่เราพบคือ หลักสูตรหรือการเรียนรู้จากส่วนกลาง ไม่สามารถตอบโจทย์ท้องถิ่นได้ร้อยเปอร์เซ็น แน่นอนว่าใช้ปูพื้นฐานได้พอสมควร แต่เมื่อเราคิดถึงการยกระดับศักยภาพ ความเข้าใจจุดแข็ง จุดเด่นของคนและพื้นที่ มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องลงลึกในรายละเอียด มีการค้นคว้า และการออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสม
งานวิจัยที่บพท. เข้ามาสนับสนุน ถือว่าเข้ามาตรงจุดพอดี คือ การใช้องค์ความรู้ และศักยภาพของคนในพื้นที่ มาร่วมสร้างหลักสูตร หรือกิจกรรมการเรียนรู้ รวมถึงเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นนักจัดการการเรียนรู้ เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ พร้อมไปกับปรับเปลี่ยนมุมมอง เติมเต็มทักษะทั้งชุมชน เราก็คาดหวังว่าอย่างน้อยๆ ภายใต้โครงการนี้ 1 ชุมชน ควรจะต้องมีนักจัดการเรียนรู้สัก 1 คน แม้จะฟังดูเหมือนว่าไม่มาก แต่อย่าลืมว่านักจัดการเรียนรู้ 1 คน สามารถมีลูกศิษย์ได้มากมายซึ่งจะเป็นหนึ่งพลังที่ช่วยพัฒนาชุมชนขึ้นอีกแรง
ประมวลภาพกิจกรรมวันที่ 1 (20ก.ย.67)
มหกรรมการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่การสร้างเศรษฐกิจพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน จังหวัดปัตตานี ณ TK Park Pattani โดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สนับสนุนโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
ประมวลภาพกิจกรรมวันที่ 2 (21 ก.ย.67)
มหกรรมการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่การสร้างเศรษฐกิจพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน จังหวัดปัตตานี ณ TK Park Pattani โดย Pattani Learning City มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สนับสนุนโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
ประมวลภาพกิจกรรมวันที่ 3 (22ก.ย.67)
มหกรรมการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่การสร้างเศรษฐกิจพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน จังหวัดปัตตานี ณ TK Park Pattani โดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สนับสนุนโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
กิจกรรมวันที่ 3 (วันสุดท้าย) ทางโครงการได้จัดกิจกรรม Workshop สาธิตและทดลองทำผ้าอัตลักษณ์ ผ้าปาดสีด้วยซาโบ๊ะญอ (กาบมะพร้าว) และผ้าบาติก รวมถึงให้ความรู้หลักสูตร STOU Modula และในช่วงท้ายก่อนปิดกิจกรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี คุณพาตีเมาะ สะดียามู ได้ให้เกียรติมาร่วมงาน พร้อมให้ข้อคิด กำลังใจในการขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ปัตตานี และมอบรางวัลให้กับน้อง ๆ นักเรียนผู้ชนะประกวดการเขียนผ้าบาติก
ติดตามการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้จังหวัดปัตตานี ได้ที่
Facebook
– วิทยาการจัดการ มหาวิยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://www.facebook.com/managementstou/?locale=th_TH
– Pattani Learning City
https://www.facebook.com/profile.php?id=100093673740186…
และภาพรวมการขับเคลื่อน Learning City Thailand หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) https://www.facebook.com/PMUA.THAI?locale=th_TH