เมืองเศรฐกิจสีเขียว (Green Economy) เมื่อเงินไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด! ในการพัฒนาเมือง 

[ บทสัมภาษณ์ของ ณัฐวัฒน์ จันทร์ศรีธาดา  นักวิชาการอิสระด้าน Green economy และนักวิจัยในโครงการ RDC ]


“เมื่อเรามีต้นแบบเศรษฐกิจสีเขียวระดับพื้นที่ สิ่งนี้จะช่วยทำให้ท้องถิ่นสามารถคิดสร้างแนวทาง
และออกแบบการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด”


[ “เศรฐกิจสีเขียว” ในความหมายของ UNEP – UN Environment Program โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ]

หมายถึงการพัฒนาที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธฺภาพ มีการจ้างงานอย่างเป็นธรรมโดยที่มีการลงทุนจากทางภาครัฐ และเอกชนที่ช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอน ทั้งเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา เพื่อป้องกันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการเชิงนิเวศ

ดังนั้นทาง บพท. จึงได้นำการแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย

วันนี้ The City Leaders (TCL) จึงนำบทสัมภาษณ์ ณัฐวัฒน์ จันทร์ศรีธาดา นักวิชาการอิสระด้าน Green economy นักวิจัยในโครงการ RDC และหนึ่งในแกนนำคณะวิจัยกรอบการวิจัย

 “การพัฒนาเมืองและพื้นที่กลุ่มเศรษฐกิจโดยรอบบนฐานเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)” สนับสนุน โดย บพท. ซึ่งพึ่งมีการจัดงานประชุม ในวันที่ 21 – 22 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร


[ การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว ตามกรอบวิจัยบพท. เป็นอย่างไร? ] 
“เมื่อเรามองแนวคิดของการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว ที่ทางกรอบวิจัยของบพท.ได้ทำนั้น จริงๆ แล้วเป็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจสีเขียวกับการพัฒนาในพื้นที่โดยตรง เพื่อค้นหา และริเริ่มทดลองสร้างพื้นที่ต้นแบบ เพื่อทำให้แนวคิดเป็นรูปธรรม พร้อมสำหรับการนำไปพัฒนาพื้นที่เศรฐกิจสีเขียวอื่น ๆ ของเมือง สิ่งที่บพท.ให้ความสนใจเป็นอย่างมากนั่น คือ เรื่องของห่วงโซ่อุปทานของระบบเมือง ดูทั้ง Supply Chain ของเศรฐกิจของเมืองเพื่อให้ทุกระบบนำไปสู่ความเป็น Green ของพื้นที่นั้นๆ”

[ เศรฐกิจสีเขียวกับโซ่อุปทาน ถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับประเทศไทยหรือไม่? ]
“เมื่อเรามองย้อนไป งานวิจัยของประเทศไทยที่ผ่านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับเศรฐกิจ ยังไปไม่ถึง แนวคิดของ Green Economy ซะทีเดียว เพราะการพัฒนาที่ผ่านมาเรามองถึงประเด็น BCG โมเดลที่เราพยายามมองแยกแต่ละส่วนออกจากกัน ทำให้เกิดการพัฒนาในเรื่องของ Bio Economy ในภาคเกษตร และ Circular Economy การแลกเปลี่ยนในกลุ่มเฉพาะที่ไม่กว้างขวางมาก แต่ความเป็น Green Economy ที่เชื่อมโยงทุกส่วนเข้าด้วยกันยังไม่ได้ถูกพัฒนา และเข้าถึงมากนัก 

เพราะติดปัญหา “โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทย” ที่ต้องคิด และสร้างขึ้นเพื่อรองรับเศรษฐกิจสีเขียวให้ได้ก่อน 

ปัจจัยอย่างหนึ่ง คือ การพัฒนาเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมยังมีต้นทุนที่สูงมาก ทำให้ภาคเอกชนไม่กล้าที่จะลงทุนมากนัก รวมถึงการผลักดันอย่างจริงจังของภาครัฐ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ทั้ง นโยบาย กฏหมาย และโครงสร้างพื้นฐาน ยังอยู่ในช่วงการริเร่ิมพัฒนา เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้รองรับกับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวได้ตลอด Supply Chain”

[ ภาพอนาคตจะเป็นเช่นไร หากประเทศไทยมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว ] 
“ถ้าโครงสร้างทางเศรษฐกิจประเทศไทยสามารถรองรับเศรษฐกิจสีเขียวได้จริง สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือคนไทยเราจะแคร์โลก และแคร์สิ่งแวดล้อมมากขึ้นในทุกมิติ โรงงานอุตสาหกรรม รัฐบาล เอกชน รวมถึงภาคประชาชน จะเข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนได้มากขึ้น มาตรฐานต่าง ๆ ที่ประเทศไทยได้คำมั่นสัญญากับโลกไว้ ก็จะบรรลุตามเป้าหมาย  และเศรษฐกิจของประเทศก็จะสามารถเติบโตได้มากขึ้น”

[ ท้องถิ่นของเราจะส่วนช่วยพัฒนาประเทศไทยสู่ประเทศเศรษฐกิจสีเขียวได้อย่างไร? ]
“เมื่อเรามีต้นแบบเศรษฐกิจสีเขียวในระดับพื้นที่ ซึ่งปีนี้ทาง บพท. ได้เข้ามาสนับสนุน การแก้ไขปัญหาต่างๆทั้ง มิติของกฏหมาย งบประมาณ การบริหารจัดการเมือง ก็จะเปิดให้ท้องถิ่นได้เห็นว่าตนเองกำลังเผชิญกับปัญหาอะไร มีข้อจำกัดในเรื่องไหน  และเรากำลังเจอกับความท้าทายอะไรบ้าง สิ่งนี้จะทำให้ท้องถิ่นสามารถคิดสร้างแนวทาง และออกแบบการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดต่อไป”

อ้างอิง
Green Economy https://www.unep.org/regions/asia-and-pacific/regional-initiatives/supporting-resource-efficiency/green-economy

Share :