[ งานวิจัย Learning City ปี2566-67]
โครงการทะเลสาบสงขลานิเวศแห่งการเรียนรู้สู่มรดกโลกปากพูน โดย นางสาววิจิตรา อมรวิริยะชัย, มหาวิทยาลัยทักษิณ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทะเลสาบสงขลาในพื้นที่เมืองปากพะยูนบนฐานชุมชนด้วยการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์สู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะคนในกลุ่มชาวประมง นักเรียน และผู้ประกอบการ
2. เพื่อยกระดับการจัดการพื้นที่การเรียนรู้ด้วยกลไกตลาดกลางสัตว์น้ำชุมชนสร้างแบรนด์เมือง “คนเลสาบเมืองปากพะยูน” สู่เศรษฐกิจเกื้อกูลเชิงสร้างสรรค์
3. เพื่อยกระดับการจัดการทะเลสาบสงขลาด้วยกลไกคณะกรรมการสภาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาขับเคลื่อนธรรมนูญทะเลสาบสงขลาเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงและแผนพัฒนาทะเลสาบสงขลาภาคประชาชน
ผลผลิต
1. Local Study Local Content การศึกษาท้องถิ่น การจัดทำฐานข้อมูลเมืองปากพะยูน เกี่ยวกับภูมิหลัง ภูมิธรรม ภูมิวงศ์ ภูมิปัญญา ภูมิทัศน์เมือง ภูมิทัศน์ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ภูมิรัฐศาสตร์ สรุปได้ว่าเมืองปากพะยูนตั้งในพื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลางที่มีความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ การตั้งถิ่นฐานของคน 3เชื้อชาติ ไทย มาเลเซียและจีน การนับถือศาสนามี 2ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ และมุสลิม เป็นเมืองพหุวัฒนธรรม การประกอบอาชีพ มีการทำประมงพื้นบ้านและการค้าขายด้วยปากพะยูนในอดีตเป็นเมืองท่าการค้าขายสัตว์น้ำที่สำคัญ และมีอาหาร สินค้าที่หลากหลาย ดังนั้น จากข้อมูลภูมิเมืองมีการร่วมออกแบบการเรียนรู้โดยชุมชนเป็นฐานในรูปแบบการเรียนรู้
(2.ตลาดกลางสัตว์น้ำ :ตลาดชุมชน :หลาดใต้ถุนการร่วมออกแบบพื้นที่การเรียนรู้และยกระดับเป็นพื้นที่เศรษฐกิจเกื้อกูล ฟื้นตลาด ฟื้นชีวิตหลาดใต้ถุน การฟื้นอาหารพื้นถิ่นของชุมชนบ้านกลาง ปากพะยูน โดยร่วมกำหนดกลไกการขับเคลื่อนตลาดโดยคณะกรรมการตลาดแต่ละฝ่าย การร่วมกำหนดข้อตกลง ตามสโลแกน “ชมเมือง ชมแล แลวิถีใต้ถุน ปากพะยูน”และร่วมสร้างแบรนด์เมืองเพื่อสนับสนุนการจำหน่ายสินค้า สร้างความเชื่อมั่นและความผูกพันธ์ มีแม่ค้าจำหน่ายสินค้า จำนวน 25 ร้าน อาหารมากกว่า 40 ชนิด อาทิ ขนมเบื้องญวน ขนมถาด ขามปาดา เป็นต้น มีสัตว์น้ำตามฤดูกาล ได้แก่กุ้งก้ามกราม ตลาดเปิดอาทิตย์แรกของเดือน ผู้เข้าชม ชิม ชอปตลาดเฉลี่ยจำนวน 200กว่าคน สร้างรายได้ทั้งหมด 50,00-100,000บาทต่อเดือน
3.การขับเคลื่อนทะเลสาบสงขลาด้วยกลไกธรรมนูญทะเลสาบสงขลา ระดับพื้นที่เกิดการบันทึกข้อตกลงร่วม(MOU) ปากพะยูนเมืองแห่งการเรียนรู้ในพื้นที่ปากพะยูนร่วมทั้งหมดจำนวน 24 หน่วย ระดับจังหวัด การจัดทำแผนพัฒนาและการดำเนินโครงการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงในการขับเคลื่อนพัทลุงมหานครแห่งความสุข ระดับทะเลสาบสงขลา เกิดคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญทะเลสาบสงขลาและแผนขับเคลื่อนร่วม
กลไกการจัดการทะเลสาบสงขลา
ด้วยคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญทะเลสาบสงขลาการขับเคลื่อนร่วมกันตลอดทั้งทะเลสาบสงขลากับภาคีต่างๆโดยผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญทะเลสาบสงขลาในการร่วมทบทวนการดำเนิน การร่วมกำหนดแผนงาน ร่วมดำเนินงาน และร่วมติดตามผล เพื่อเสนอสู่นโยบายสาธารณะต่อไป
พื้นที่เรียนรู้/ระบบนิเวศเรียนรู้
Ecology ที่ประกอบไปด้วย ตัวความรู้ /กิจกรรมการเรียนรู้ /พื้นที่การเรียนรู้ /นักจัดการการเรียนรู้ในเมือง (City Learning Administrator)
1) ชุดความรู้และกิจกรรม ได้แก่
-การจัดการทรัพยากรทางทะเล กิจกรรมได้แก่ การร่วมกำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชน การร่วมกำหนดกฎ กติการ่วมในการอนุรักษ์ การปฎิบัติการทำบ้านปลา และร่วมสร้างเครือข่ายกับภาคีทะเลสาบสงขลา
-อาหารพื้นถิ่น ปากพะยูน กิจกรรมได้แก่ การรวบรวม คัดเลือก เรียนรู้ลงมือปฎิบัติ ถ่ายทอดและยกระดับสู่การจำหน่าย
-ประเพณีเรือพระ กิจกรรม การจัดทำข้อมูล ทำสื่อ หลักสูตร จัดกระบวนการเรียนรู้ และยกระดับเป็นกิจกรรมในเส้นทางการชมเมืง
-การบริหารจัดการตลาดกลางสัตว์น้ำ : หลาดใต้ถุน กิจกรรมได้แก่ การพัฒนาศักยภาพ การร่วมออกแบบตลาด การร่วมกำหนดรู้แบบการดำเนินงาน อาทิ คณะทำงาน บทบาท ข้อกำหนดตกลงต่างๆ การจัดกิจกรรมเรียนรู้การทำอาหารจากหัวใจ การเปิดตลาดใต้ถุน การประชุมถอดบทเรียนและปรับปรุงการดำนินงานต่อๆไป
-การขับเคลื่อนทะเลสาบสงขลาด้วยธรรมนูญทะเลสาบสงขลา พื้นที่ทะเลสาบ ข้อกำหนด กฎหมาย การจัดการทรัพยากรโดยชุมชนมีส่วนร่วม
2) พื้นที่การเรียนรู้
-หลาดใต้ถุน การเรียนรู้เรื่องอาหาร ขนมพื้นถิ่นของชุมชนปากพะยูน
-วัดรัตนาราม การเรียนรู้เรื่องประวัติความเป็นมา ศิลปวัฒนธรรม และความศรัทธาร่วมแรงร่วมใจของชุชน
-บ้านปลาชุมชนบ้านกลาง การเรียนรู้ระบบนิเวศทะเลสาบ ความหลากหลายของสัตว์น้ำ การทำบ้านปลา การกำหนดเขตอนุรักษ์และกฎ กติกาชุมชน
3) นักจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
-เทศบาลตำบลปากพะยูน ได้แก่ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลตำบล เจ้าหน้าที่ ในการร่วมออกแบบเมืองการจัดทำหลาดใต้ถุน
-แกนนำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่ ประธานชุมชนบ้านชุมชนบ้านกลาง การร่วมออกแบบร่วมดำเนินการการเรียนรู้แก่เยาวชน การทำหลาดใต้ถุนและการจัดการทรัพยากรทางทะเล
-อาจารย์ แกนนำนักเรียน โรงเรียนมัธยมเกาะหมาก โรงเรียนปากพะยูนพิทยาคาร ร่วมจัดการเรียนการสอนแบบ Active Leaning และ Project Based learning
ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://dic.scidi.tsu.ac.th/360/sk/