เชื่อมเมืองแห่งการเรียนรู้ประเทศไทย

Forward to Thailand Learning City Platform
“จากเมืองแห่งการเรียนรู้ สู่การเรียนรู้ทั้งประเทศ”


“เมืองแห่งการเรียนรู้” คือแนวคิดยอดฮิตที่วันนี้ ไม่ว่าเราจะไปเที่ยวเมืองไหนในประเทศ ย่อมมีโอกาสได้ยินผ่านหู หรือเห็นจนคุ้นตา

หลายคนน่าจะทราบแล้วว่า ภาครัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น เชื่อมโยงไปจนถึงองค์กรระดับนานาชาติอย่าง UNESCO คือฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกันกับภาคประชาชนในเมืองต่างๆ จริงอยู่อาจจะมองได้ว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายและแนวทางของภาครัฐ แต่อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญที่จะวัดความสำเรีจในการรับเอาแนวคิด “เมืองแห่งการเรียนรู้” เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง คือการนำแนวคิดนี้มาใช้ในการพัฒนาเมือง พัฒนาคน พัฒนาการเรียนรู้ ที่จับต้องได้และเป็นจริง
.
หลายเมือง และหลายจังหวัด ได้มีการเริ่มต้นทดลอง และพัฒนาเมืองของตนเองตามแนวทางนี้ เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่แต่ละเมืองกำลังเผชิญ
.
ในปีพ.ศ. 2560 – 2563 มี 4 เมืองที่ได้รับการรับรองให้เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC) ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ฉะเชิงเทรา และภูเก็ต ในกรอบพื้นที่ของเทศบาลนครและเมือง โดยทั้ง 4 เมืองนี้ได้ขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเองภายในท้องถิ่น และได้เสนอชื่อขอรับการพิจารณารับรองสถานะโดยเริ่มจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สู่ระดับกระทรวง และเสนอต่อยูเนสโก

และปีพ.ศ. 2565 เป็นต้นมา มีเมืองที่ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC) เพิ่มอีก 6 เมือง ได้แก่ เมืองหาดใหญ่ จังหวัดพะเยา จังหวัดสุโขทัย เมืองขอนแก่น เมืองยะลา และกรุงเทพมหานครฯ (ทุกเขต) โดยมีหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. ตามด้วย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. เข้ามาช่วยสนับสนุนงบประมาณการวิจัยและการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ และการขอเสนอเพื่อรับการพิจารณารับรองการเป็นเครือข่ายของการเรียนรู้
นอกจากนั้นแล้ว เมืองอื่นๆจะสามารถนำความน่าสนใจของทั้ง 10 เมืองนี้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านองค์ความรู้ ประสบการณ์ แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ภายในเมืองที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง และได้รับการรับรองสถานะในการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ มาปรับใช้และบูรณาการ มาสร้างการเชื่อมโยงประสบการณ์และองค์ความรู้ดังกล่าวให้เกิดความเชื่อมโยงในโครงสร้างและกลไก เมืองแห่งการเรียนรู้ประเทศไทย หรือ Thailand Learning City Platform ได้อย่างไร?
.
The City Leaders ในเรื่องถัดไป เราอยากชวนทุกท่านมาร่วมเรียนรู้ สรุปบทเรียน และแลกเปลี่ยนถึงเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง และเมืองแห่งการเรียนรู้นานาชาติ เริ่มจากอาเซียน ไปสู่เมืองในเอเชีย

Share :