[ งานวิจัย Livable & Smart City ปี2566-67]
โครงการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด (Livable and Smart City) โดย นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และเสนอแนะตัวชี้วัดที่สามารถดำเนินงาน (Operationalize)
ในการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่
2. เพื่อสร้างการสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Communication) ในประเด็นน่าอยู่และการชี้วัดเมืองน่าอยู่ที่ขับเคลื่อนระดับนโยบายและปรับใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
3. เพื่อสังเคราะห์ตัวแบบการพัฒนาเมืองด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ที่ครอบคลุงประแด็นการพัฒนาการสื่อสารและการสื่อสารระดับนโยบาย

ผลผลิต
การทบทวนตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่ในระดับระหว่างประเทศเพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดทำตัวชี้วัดที่สามารถดำเนินงานหรือตัวแทน (Proxy) ดัชนีชี้วัดเมืองในแต่ละประเด็น
ตัวชี้วัดสำคัญ/ตัวชี้วัดที่สามารถดำเนินงานตามกรอบของดัชนีการเฝ้าสังเกตการณ์เมือง (UMF) ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมในเทศบาลเป้าหมายและสามารถนำไปใช้ต่อยอดในกระบวนการชี้วัดเมืองน่าอยู่ระดับประเทศ ข้อเสนอแนะต่อภาคีพื้นที่ในการจัดทำแผนในการพัฒนาเมืองน่าอยู่และชาญฉลาดในระดับพื้นที่เป้าหมายที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนระดับพื้นที่ และระดับนโยบาย ตลอดจนสามารถเชื่อมต่อประเด็นเชิงนโยบายกับประเด็นเชิงปฏิบัติการแนวทางการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่และการปรับประยุกต์ตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่สู่การขับเคลื่อนเมืองแนวทางการสื่อสารเมืองน่าอยู่ เพื่อปิดช่องว่างระหว่างกับพื้นที่ในการขับเคลื่อนน่าอยู่อย่างชาญฉลาดเพื่อเสนอต่อหน่วยงานเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่และชาญฉลาดบนฐานการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนการพัฒนาการสื่อสารและเนื้อหาจากต้นแบบของเมืองเป้าหมาย สำหรับการพัฒนาเมืองน่าอยู่จากแนวคิดและตัวชี้ที่สามารถดำเนินงาน ในการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ในเทศบาลหมาย 4 พื้นที่
บทความและรายงานข่าวข้อมูลการสังเคราะห์ความรู้ระดับเมืองและความรู้ที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่
กระบวนการยกระดับกลไกและฐานข้อมูล
โครงการวิจัยได้สำรวจทุนการทำงานและการขับเคลื่อนเมืองเป้าหมาย ได้แก่ เทศบาลนครเชียงใหม่เทศบาลนครระยอง เทศบาลเมืองสารคาม และเทศบาลนครศรีธรรมราช ซึ่งครอบคลุมทุนในเชิงความรู้ ข้อมูลเมืองหน่วยงาน/องค์กร และเครือข่าย ของหน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.)และหน่วยงานภาคี
การประชุมกลุ่มย่อย เวทีคืนข้อมูล และเวทีสาธารณะในแต่ละพื้นที่เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
นอกจากนี้คณะวิจัยยังได้พัฒนาแนวทางการสื่อสารวาระของแต่ละเมืองผ่านภาคีสื่อสารต่างๆ เช่น ThaiPBS, CityPal และอื่นๆ โดยผลการดำเนินงานทั้งหมด มีรายละเอียดดังนี้
1. ใช้ดัชนีการเฝ้าสังเกตการณ์เมือง (UMF) เพื่อชี้วัดเมืองน่าอยู่ทั่วประเทศ จากการหารือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับประเทศและการเปรียบเทียบดัชนีตัวชี้วัดระดับนานาชาติทั้ง 6 ชุด
2. จัดกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย จากกระบวนการจัดกิจกรรมพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในพื้นทั้ง 4 ครั้ง ได้ข้อค้นพบสำคัญของโครงการ คือ ตัวชี้วัดที่สามารถดำเนินงานในการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่ หรือตัวแทน (Proxy) ของตัวชี้วัดเมืองตามกรอบของ Urban Monitoring Framework (UMF) ซึ่งผู้มีส่วนร่วมในเมืองหรือเทศบาลเป้าหมายได้ตกลงร่วมกันว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัญกับเมือง/เทศบาลและเชื่อมโยงต่อประเด็นการพัฒนาเมือง/เทศบาลให้มีความน่าอยู่
3. พัฒนาแนวทางการสื่อสารประเด็นของการขับเคลื่อนเมือง ในฐานะกลยุทธ์สำคัญที่เป็นเครื่องมือและกระบวนการสร้างความตระหนักรู้ (awareness) และการเรียนรู้ทั้งในระดับพื้นที่และระดับภาพรวมของประเทศ

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การพัฒนาเมืองน่าอยู่ควรเริ่มจากแนวทางความคิดประชาชน งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาสชนที่หลากหลาย คณะวิจัยจึงต่อยอดประเด็นการชี้วัดเมืองน่าอยู่ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยการถามถึงประเด็น
สำคัญในแต่ละเมืองพร้อมชวนให้ผู้เข้าร่วมคิดหาทางออก เมืองเชียงใหม่มี 5 เรื่องที่ประชาชนร่วมหาทางออก ได้แก่
1. ความเสมอภาคทางการศึกษา
2. ที่อยู่อาศัยและสิทธิในการใช้ที่ดินอย่างมั่นคง
3. การเก็บและจัดการขยะ
4. แผนพัฒนาชุมชนระยะ 3 ปี ที่เกิดจาการร่วมทำแผนระหว่างภาครัฐและชุมชน
5. การเชื่อมกิจกรรมของประชากรคนในชุมชนเพื่อสังคมที่ยั่งยืน เมืองมหาสารคามมี 6 เรื่องที่ประชาชนร่วมหาทางออก ได้แก่
5.1 อุบัติเหตุบนท้องถนน
5.2 สุขภาพชุมชน
5.3 การจัดการขยะ ปัญหาขยะล้นเมือง
5.4 การบริหารหน่วยงานภาครัฐ
5.5 รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายประจำวัน
5.6 ตลาดสินค้าชุมชน เมืองระยองมี 6 เรื่องที่ประชาชนร่วมหาทางออก ได้แก่ 1.มลภาวะและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษจากโรงงาน 2.การร่วมมือคัดแยกขยะในชุมชน 3.ความปลออดภัยในชุมชน 4.คืนฟุตบาทให้เป็นสาธารณะ 5.ปัญหาการจราจร และ 6.การพัฒนาระบบขนส่งของเมืองรถบัสไฟฟ้า 7.เมืองนครศรีธรรมราชมี 7 เรื่องที่ประชาชนร่วมหาทางออก ได้แก่ 1.การเดินทางปลอดภัย การจราจร และอุบัติเหตุบนท้องถนน 2.ยาเสพติด 3.ผู้ป่วยจิตเวช 5.รายได้ไม่พอต่อค่าใช้จ่าย 5.คนตกงาน 6.การจัดการขยะ และมลพิษทางอากาศ
ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.facebook.com/ias.chula