Housing for All : เมืองศรีสะเกษ

4 โมเดลการพัฒนาที่อยู่อาศัยเมืองศรีสะเกษ

จากการขับเคลื่อนโครงการฉากทัศน์การจัดการที่อยู่อาศัยเมืองและการแก้ไขปัญหาชุมชนบนที่ดินรัฐภายใต้บริบทความท้าทายของการพัฒนาเมืองในอนาคต: เทศบาลเมืองศรีสะเกษ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เทศบาลเมืองศรีสะเกษ และการสนับสนุนจาก บพท.


 คณะวิจัยร่วมกับเครือข่ายชุมชน และองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้นำเสนอแนวทางพัฒนาที่อยู่อาศัยเมืองศรีสะเกษไว้ 4 โมเดล
(1) การอยู่บนที่ดินเดิมโดยประชาชนพิสูจน์สิทธิในการครอบครองที่ดิน
(2) การใช้พื้นที่ดินเดิม โดยการจัดสรร พื้นที่และใหJชุมชนเดิมอยู่อาศัย (Land sharing) และท้องถิ่น จัดทําโครงการเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย (Upgrading) ผ่านการสนับสนุนจากรัฐบาล
(3) การใช้พื้นที่ใหม่ โดยให้ชุมชนที่มี ปัญหาที่ดินย้ายที่อยู่อาศัยไปเพื่อจัดสรรพื้นที่และตั้งชุมชน (Relocation) และท้องถิ่นจัดทําโครงการเพื่อพัฒนาที่อยู่ อาศัย ผ่านการสนับสนุนจากรัฐบาล หรือจัดหาที่ดินเอกชน
(4) การใช้พื้นที่ดินเดิม โดยให้ชุมชนที่มี ปัญหาที่ดินย้ายที่อยู่อาศัยของเมืองรวมกันเพื่อจัดสรรพื้นที่ ร่วมกัน (Land Readjustment) และท้องถิ่นจัดทําโครงการเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย ผ่านการสนับสนุนจากรัฐบาล

โดยอาศัย 3 องค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อน
1. คณะกรรมการเมือง (คณะกรรมพัฒนาที่อยู่อาศัย กลไกร่วมระหว่างชุมชน วิชาการ ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
2. ชุมชน (ความร่วมมือ การรวมกลุ่ม และข้อเสนอ)
3. รัฐ (การสนับสนุนโครงการ, กฎหมาย, และงบประมาณ)

มุ่งแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่อาศัยที่ชุมชนเข้าไปอยู่อาศัยทั้งในที่ดิน น.ส.ล. ที่ดินการรถไฟ ที่ดินราชพัสดุ ที่ดินเอกชน และที่ดินที่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่ององค์กรกำกับดูแล


การขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในครั้งนี้ได้จัดกลุ่มชุมชนออกเป็น 4 กลุ่ม โดยระบุชุมชน เป้าหมาย ความต้องการ และแนวทางตาม 4 โมเดลกำกับ ดังนี้

1.กลุ่มชุมชนที่มีการขับเคลื่อนเพื่อพิสูจน์สิทธิการเป็นเจ้าของที่ดิน
กลุ่มที่ดิน น.ส.ล. [แนวทางการพัฒนา : โมเดล 1 & 4 ]
– โนนหนองบัว (ชุมชนโนนขวา)
– ชุมชนคุ้มหนองหมู (ใต้) บางส่วน

ความต้องการ :
กลุ่มโนนหนองบัว และกลุ่มคุ้มหนองหมูใต้ บางส่วนต้องการโฉนดที่ดินเป็นของตนเอง บางส่วน


2.กลุ่มที่อยู่บนที่ดินรัฐและพร้อมดำเนินการด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย
2.1 ที่ดิน น.ส.ล. [แนวทางการพัฒนา : โมเดล2, 3, และ 4 ]
– ชุมชนคุ้มหนองหมู (เหนือ)*
– ชุมชนท่าเรือ (คุ้มสนามเป้า)

2.2 ที่ดินการรถไฟ
– ชุมชนหัวนา
– ชุมชนพันทาน้อย
– ชุมชนโนนสํานักมิตรภาพ

2.3 ที่ดินราชพัสดุ
– บริเวณเรือนจําศรีสะเกษ**
– ชุมชนเมืองใหม่สะพานขาว

* รอดําเนินการเพื่อเช่าที่ดิน
** อาจมีศักยภาพเป็นพื้นที่ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของเมืองได้ในอนาคต

ความต้องการ :
1. กลุ่มคุ้มหนองหมู (เหนือ) ต้องการเช่าที่ดินของตนเอง และให้ช่วย พัฒนาที่อยู่อาศัยให้มั่นคง
2. กลุ่มที่ดินรถไฟ ต้องการสัญญาเช่า เพื่อจะได้เริ่มกระบวนการ ปรับปรุง พัฒนา ที่อยู่อาศัย


3. เมืองอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงแต่อาจได้รับผลกระทบด้านที่อยู่อาศัย
[แนวทางการพัฒนา : โมเดล 2, 3, และ 4]
– ชุมชนริมรางรถไฟ 13 ชุมชน
– ชุมชนเมืองทั่วไปจํานวน 28 ชุมชน

ความต้องการ :
1. ต้องการให้ช่วยพัฒนาที่อยู่อาศัยให้มั่นคง รวมทั้ง การจัดการด้านที่ดินทั้งระบบ
2. แก้ปัญหาน้ำท่วม และโครงสร้างพื้นฐาน
3. พัฒนาเมืองและแก้ปัญหาด้านสังคมเศรษฐกิจ
__
4. กลุ่มที่มีการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสิทธิในที่ดินชุมชนและที่อยู่อาศัย
[แนวทางการพัฒนา : โมเดล 1, 2, 3, และ 4]
– ชุมชนโนนทรายทอง
– ชุมชนกุดหวาย
– ชุมชนโนนสําราญ
– ชุมชนโนนป่ายาง
*ยังไม่แน่ชัดถึงแนวเขตที่ดินรัฐ

ความต้องการ :
1. ต้องการความชัดเจนเรื่องที่ดิน
2. แก้ปัญหาน้ำท่วม และโครงสร้างพื้นฐาน
3. พัฒนาเมืองและพื้นที่ตลาดสด

Share :