Gwangmyeong, Republic of Korea
.
ทุกคนอาจรู้จักประเทศเกาหลีใต้ผ่าน วัฒนธรรมเพลง หนัง ซีรีย์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก จนได้นิยามว่าเป็นตัวอย่างซอฟพาวเวอร์อันดับต้นๆของโลก แล้วเกาหลีจัดการทรัพยากรความรู้ของเมืองตัวเองอย่างไร? จากเดิมทีที่เคยเป็นประเทศที่มีความยากจนสูงสู่ประเทศที่มีความร่ำรวยติดอันดับ top 10 ของโลก วันนี้ the city leader จะพาทุกคนไปเรียนรู้พร้อมกัน
.
เมืองแห่งการเรียนรู้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เริ่มจากปี ค.ศ. 1999 เมืองกวังมยอง เมืองที่ห่างจากกรุงโซล ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 15 กิโลเมตร ได้ประกาศตัวนำร่องว่าเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ‘แห่งแรก’ ของประเทศ
.
จากเหตุผลที่ว่าคนในพื้นที่รวมถึงรัฐและเอกชนเห็นปัญหาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าสู่สังคมสูงวัย เศรษฐกิจของเมืองซบเซา คนในพื้นที่เข้าถึงความรู้และโอกาสทางการศึกษาได้ลำบาก และปัญหาอื่นๆอีกมากมายที่ส่งผลให้พวกเขาตัดสินใจออกแบบพื้นที่การจัดการเรียนรู้ของตนเองในเมืองแห่งนี้ ด้วยแนวคิด
“เมืองแห่งการเรียนรู้ที่เข้าถึงได้ไม่ว่าจะที่ไหนและเมื่อไหร่”
กับความฝันที่ว่า เมื่อทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะอยู่ตลอดเวลา และสามารถทำงานเลี้ยงตัวเองได้ เมืองจะค่อยๆ พัฒนาและดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างห้องเรียนสำหรับผู้พิการในเมืองที่ทางเมืองกวังมยองมีการสนับสนุนให้ผู้พิการสามารถสัมผัสถึงความอิสระผ่านการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีพของผู้พิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตร่วมกับสวัสดิการที่ทางเมืองมอบให้ การสร้างห้องสมุด Lifelong Learning อีกทั้งเมืองกวังมยองยังมีแผนทื่จะพัฒนาการศึกษาของประชาชนในเมืองอย่างเท่าเทียมเพื่อการพัฒนาไปสู่ Global Citizenship College โดยมี Gwangmyeong Autonomy College ที่เริ่มต้นวางรากฐานให้ประชาชนเข้าใจในพื้นที่ของตนเองได้อย่างถูกต้องและลึกซึ้ง เพื่อที่ประชาชนจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาหมู่บ้านหรือเมืองของตนเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้ตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะสามารถพัฒนาและสร้างความมีชีวิตชีวาของที่อยู่อาศัยได้
.
จากความสำเร็จและการเปลี่ยนแปลงตัวเองของเมืองกวังมยอง ทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มจริงจังกับการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ และตั้งเป้าหมายให้ทุกเมืองทั่วประเทศต้องเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยอาศัยงานวิจัย งานออกแบบพื้นที่ งานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเติมงบสนับสนุนให้แต่ละเมืองไปลงมือปฏิบัติการโดยมีหลักแนวคิดสุดท้าทาย ที่ว่า “เมืองจะต้องมีพื้นที่การเรียนรู้ ที่ทุกบ้านจะสามารถเดินไปใช้งานได้ภายใน 10 นาที”
.
ต่อมาในปีค.ศ. 2008 รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ก่อตั้งสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งชาติ หรือ The National Institute for Lifelong Education (NILE) เพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปัจจุบันเกาหลีใต้มีเมืองแห่งการเรียนรู้ไปแล้วกว่า 169 แห่ง โดนแต่ละแห่งสามารถมีอิสระในการออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเมืองด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีการจัดการผ่านอำนาจจากส่วนกลาง
.
.
ทำให้เกาหลีใต้สามารถสร้าง Soft Power จากการพัฒนาคนให้พร้อมใช้ความคิดสร้างสรรค์ ก่อเกิดสังคมฐานความรู้ (Knowledge base society) เพื่อกระจายความรู้สู่ทุกคนที่อยู่ในเมืองได้
.
นอกจากเมืองกวังมยองแล้ว ยังมีเมืองแห่งการเรียนรู้อื่นๆในเกาหลีใต้อีกหลายเมืองที่เราจะพาไปเรียนรู้ด้วยกันอีกโปรดรอติดตามกันครับ
อ้างอิง
https://www.uil.unesco.org/en/learning-cities/gwangmyeong
OECD (2020), “Case study: Lifelong learning in Korea”, in Strengthening the Governance of Skills Systems: Lessons from Six OECD Countries, OECD Publishing, Paris. DOI: https://doi.org/10.1787/cd2b486a-en
https://www.oecd-ilibrary.org/…/strengthening-the…
https://www.thekommon.co/soft-power-learning-city-south…/