ยกระดับเศรษฐกิจเมืองชายแดน
แม้แนวโน้มเศรษฐกิจภาพรวมของโลก และไทย ดูจะยังไม่สดใส แต่การพัฒนาเส้นทางระหว่างประเทศเชื่อมโยงแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อมโยงกับจีน และการค้าตามแนวชายแดนกำลังกลับมาสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งเศรษฐกิจ การคมนาคม การพัฒนาเมืองอย่างมีนัยยะสำคัญ
เป้าหมายการสร้างเศรษฐกิจเมืองชายแดนให้แข็งแรงและยั่งยืน จึงเป็นหนึ่งในหมุดหมายที่รัฐบาลไทยกำหนดให้เป็นแผนพัฒนา ผ่านการใช้เครื่องมือทางนโยบาย กฎหมาย และโครงการหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้แนวคิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ซึ่งเอื้ออำนวยและสร้างปัจจัยบวกด้านการค้าการลงทุนแก่นักลงทุน โครงการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมการจ้างงาน ยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน และการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและเมืองน่าอยู่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของ “การพัฒนาเมืองชายแดน” จึงได้ จึงได้ประกาศกรอบสนับสนุนงานวิจัย “การยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่เมืองชายแดน” ในกรอบงบประมาณปีพ.ศ. 2566 โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเมืองชายแดนในมิติคุณภาพชีวิต การจ้างงาน การเพิ่มรายได้ สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ชายแดนประเทศไทย เชื่อมโยงและกระตุ้นให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชน สร้างปัจจัยและผลกระทบที่ดีเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนจากต่างประเทศ
โดยในปีพ.ศ. 2566-2567 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยรวม 12 โครงการใน 11 จังหวัด และ 2 กรอบแนวคิดการพัฒนาพื้นที่และการเชื่อมโยงชายแดน ได้แก่
1. พื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (จังหวัดสงขลา) : การยกระดับเศรษฐกิจด้านอาหารเชื่อมโยงพื้นที่ชายแดนจังหวัดสงขลาและประเทศมาเลเซีย, หัวหน้าโครงการวิจัย ผศ. ดร.ปนัดดา ศิริพานิช, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
2. พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนไทย-มาเลเซีย (1.สงขลา, 2.สตูล, 3.ยะลา, 4.นราธิวาส) การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของสินค้าเกษตร เพื่อยกระดับเศรษฐกิจร่วม, หัวหน้าโครงการวิจัย ผศ. ดร.ปนัดดา ศิริพานิช, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาพื้นที่เมืองชายแดนภาคใต้, หัวหน้าโครงการ รศ. ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. พื้นที่ชายแดนไทย-ลาว (จังหวัดอุบลราชธานี) : การพัฒนาผลิตภัณฑ์และห่วงโซ่อุปทานของกาแฟท้องถิ่นเมืองปากซองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเมืองชายแดนไทย-ลาว ผศ. รัตน์ชฎาพร ศรีสุระ, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
4. พื้นที่ 2 จังหวัดชายแดนไทย-ลาว (จังหวัดพะเยา และเชียงราย) การยกระดับเศรษฐกิจร่วมไทย – ลาว ผ่านการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าโคเนื้อคุณภาพ เพื่อความยั่งยืนของพื้นที่เมืองชายแดนพะเยา เชียงราย, หัวหน้าโครงการ ผศ. น.สพ. สมชาติ ธนะ, มหาวิทยาลัยพะเยา
5. พื้นที่ 2 จังหวัดชายแดนไทย-มาเลเซีย (จังหวัดยะลา และนราธิวาส) : การยกระดับเศรษฐกิจร่วมของเมืองชายแดนจังหวัดยะลาและนราธิวาสเพื่อยกระดับรายได้ของพื้นที่ชายขอบ, หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.อิสมะแอ เจ๊ะหลง, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
6. พื้นที่เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา (จังหวัดสระแก้ว) : การยกระดับความสามารถในการแข่งขันการผลิตเนื้อโคและโคเนื้อ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในพื้นที่เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา จ.สระแก้ว, หัวหน้าโครงการ ผศ.ญาณิน พัดโสภา, มหาวิทยาลัยบูรพา
7. พื้นที่เมืองชายแดนไทย-มาเลเซีย (จังหวัดนราธิวาส) : การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการการค้าชายแดน กรณีศึกษา ด่านสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส, หัวหน้าโครงการ ดร.สุมาลี กรดกางกั้น, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
8. พื้นที่ 3 จังหวัดเชื่อมโยงชายแดนไทย-ลาว (จังหวัดมุกดาหาร, นครพนม และกาฬสินธุ์) : การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานระบบนิเวศการลงทุนพืชพลังงานในการยกระดับเศรษฐกิจ พื้นที่เมืองชายแดนและเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG: จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม, หัวหน้าโครงการ ดร.ภานุวัฒน์ คำใสย, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด
9. พื้นที่ชายแดนไทย-ลาว (จังหวัดเชียงราย) : การสร้างโซ่คุณค่าข้ามแดน “เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ” กลุ่มธุรกิจ New S Curve, หัวหน้าโครงการ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
10. พื้นที่ชายแดนไทย-พม่า (จังหวัดตาก) : แม่สอดเมืองแห่งการค้าชายแดน มั่นคงและปลอดภัย, หัวหน้าโครงการ ดร. พิษณุรักษ์ กันทวี, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
11. การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ลาว-ไทย : การศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, หัวหน้าโครงการ ดร. อรรฆพร ก๊กค้างพลู, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
12. การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภูมิภาค : การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภูมิภาค เพื่อสร้างไทยเป็นศูนย์กลางแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, หัวหน้าโครงการวิจัย ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์