โครงข่ายพื้นที่และศิลปะเพื่อการเรียนรู้เมืองลำพูน (เวียงศิลปะหละปูน)

[ งานวิจัย Learning City ปี2566-67] 

โครงการออกแบบโครงข่ายพื้นที่และศิลปะเพื่อการเรียนรู้เมืองลำพูน (เวียงศิลปะหละปูน) โดย ผศ. ดร.จาตุรงค์ โพคะรัตน์ศิริ, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วัตถุประสงค์
วิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่และสร้างสมมติฐานทดลองการเชื่อมต่อโครงข่ายการสัญจรและพื้นที่สาธารณะเพื่อการฟื้นฟูย่านเมืองเก่าสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนและนักท่องเที่ยวเยาวชน ศิลปินท้องถิ่น นักออกแบบชุมชนเมือง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการดูแลพื้นที่สาธารณะ ในการร่วมผลิตงานศิลปะสาธารณะที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยววัฒนธรรม สะท้อนอัตลักษณ์ และเกิดการเรียนรู้เมืองลำพูน

ผลผลิต
การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การใช้อัตลักษณ์ย่านและความทรงจำเพื่อการฟื้นฟูเมือง และนำเสนอแนวทางจัดการเชื่อมโยงพื้นที่ว่างเพิ่มศักยภาพการสัญจร และ ต้นแบบผลงานศิลปะสาธารณะร่วมรังสรรค์ระหว่างศิลปิน-เยาวชนเมืองลำพูน ติดตั้งในย่านเมืองเก่าลำพูน และ ประเมินผลการใช้งานพร้อมหารือแนวทางต่อยอดการวิจัยจากภาครัฐและเอกชนเพื่อขยายผล

พื้นที่เรียนรู้/ระบบนิเวศเรียนรู้
แนวทางในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้สอดคล้องกับศักยภาพในการเข้าถึงในบริเวณพื้นที่คูเมืองลำพูน
สมมติฐานที่ 4 เมื่อสามารถเดินผ่านทั้งวัดพระธาตุและกำแพงเมืองกับคูเมืองและผ่านพื้นที่ศาลากลางเก่า

สรุปผลการทดสอบได้ว่าหากเชื่อมต่อทางสัญจรต่ำสมมติฐานที่ 4 เมื่อเปรียบเทียบกับโครงข่ายสันนิษฐานเมืองในปัจจุบัน จะมีศักยภาพการเข้าถึงเพิ่มขึ้นดังต่อไปนี้คือ ที่ระยะ 4000 ถึง 6000 เมตร (ระยะขับรถยนต์หรือใช้ยานพาหนะอื่นเชื่อมต่อเมืองเก่าไปจนถึงแยกอุตสาหกรรม) พบว่าการเชื่อมต่อทั้งหมดดังกล่าวทำให้ถนน รถแก้วมีศักยภาพเข้าถึงเพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดเจน ที่ระยะ 100 ถึง 200 เมตร (ระยะเดินเท้าในย่านชุมชนกลางเมืองเก่า) พบว่าการเชื่อมต่อการเดินจากขัวมุงข้าม แม่น้ำกวง ผ่านพื้นที่วัดพระธาตุเข้าสู่ถนนรถแก้วมุ่งหน้าสู่วัดมหาวัน และเชื่อมต่อการเดินผ่านประตูทิศเหนือและใต้ของพื้นที่ศาลากลางเก่า จะทำให้ศักยภาพการเข้าถึงของถนนรถแก้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่เพิ่มขึ้นมากบนถนนที่ขนาบสองข้างของพื้นที่ศาลากลางเก่า คือถนนแว่นคำและถนนราชวงศ์ โดยเฉพาะถนนราชวงศ์ที่ศักยภาพการเข้าถึง เพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดบริเวณด้านหน้าวัดพระธาตุตรงประตูขัวมุงบนถนนรอบเมืองในเป็นจุดดึงดูดการท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นบริเวณที่มีการจอดรถเพื่อเริ่มต้นเดินเท้าท่องเที่ยวในเมืองเก่าลำพูน ทำให้ต้องพิจารณาวิธีการสร้างจุดดึงดูดความสนใจ (Magnet) ที่จะส่งเสริมศักยภาพการเข้าถึงได้เพิ่มขึ้นเช่นแลนด์มาร์คหรือจุดหมาย ตาบริเวณทางเชื่อมและสวนสาธารณะ ระหว่างถนนรถแก้วและวัดมหาวันผ่านกำแพงเมืองและคูเมือง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับจอดรถ

งานวิจัยที่ต่อเนื่องในอนาคตควรสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากถนนรถแก้วเข้าสู่วังทรายซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญไชย (ประตูหลัง) เชื่อมต่อกับถนนมุกดาที่มีศักยภาพการเข้าถึงในระดับสูงมากของย่านเมืองเก่าลำพูนและเชื่อมต่อกับประตูด้านทิศใต้ของพื้นที่ศาลากลางเก่าอีกด้วย ซึ่งถนนบางสายที่สัญจรผ่านพื้นที่ศาลากลางเก่าจากฝั่งถนนแว่นคำสู่ฝั่งถนนราชวงค์จะเพิ่มศักยภาพการสัญจรทั้งระบบในย่านใจกลางเมืองเก่า

ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ 
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
https://www.arc.cmu.ac.th

Share :