[ งานวิจัย Smart City ปี2566-67]
โครงการต้นแบบการพัฒนาเมืองน่าอยู่และชาญฉลาด : นครราชสีมา ต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัล สู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด โดย ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ, มหาวิทาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาและยกระดับระบบการจัดการข้อมูลเมืองโคราชสู่เมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด
2.เพื่อพัฒนาและยกระดับบริการสาธารณะด้านคมนาคมขนส่งภายในเมืองโคราช
3.เพื่อพัฒนาต้นแบบกลไกเศรษฐกิจดิจิทัลด้านบริการสาธารณะของเมืองโคราช
โครงการที่ 1 การพัฒนาและยกระดับระบบการจัดการข้อมูลเมืองโคราชสู่เมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด จะได้ผลผลิตโครงการวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศเมืองอัจฉริยะจะมีระบบเปิดข้อมูลเมือง (City Open Data System) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart Citilization) จะมีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลเมือง (Urban Data Collection) และฉายภาพสถานการณ์ของเมือง (Urban Visualization)
โครงการที่ 2 การพัฒนาและยกระดับบริการสาธารณะด้านคมนาคมขนส่งภายในเมืองโคราชสู่เมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด ถือเป็นหนึ่งใน City Solution ตามกรอบแนวคิดการเปลี่ยนผ่านยานยนต์ไฟฟ้ายุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า (Transition Strategy) เพื่อสร้างอุตสาหกรรมใหม่ บริบทเมืองโคราชสู่แผนงานและโครงการเรือธง (Flagship Project)
โครงการที่ 3 ต้นแบบกลไกเศรษฐกิจดิจิทัลด้านบริการสาธารณะของเมืองโคราชสู่เมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด ประเด็นสำคัญ จะต้องประกอบไปด้วยอย่างน้อย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การปรับตัวผู้ประกอบการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) เกิดการเรียนรู้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มประยุกต์ใช้สำหรับธุรกิจ 2) การสร้างชุมชนดิจิทัล (Digital Community)
กรอบประเมินความเป็นเมืองอัจฉริยะจากผลผลิตโครงการวิจัยร่วมกับตัวชี้วัดแต่ละประเภทความเป็นเมืองอัจฉริยะตามกรอบของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA: Digital Economy Promotion Agency)
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดตัวชี้วัดในแต่ละประเภทความเป็นเมืองอัจฉริยะตามกรอบของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลกับผลผลิตชุดโครงการวิจัยย่อย วิเคราะห์และจำแนกแต่ละประเภทความเป็นเมืองอัจฉริยะ อธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ได้จากผลผลิตโครงการวิจัยที่ 2 การเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้าของพื้นที่เมืองโคราช ทั้งด้าน EV Conversion และ E-Scooter ตลอดจนเตรียมโอกาสความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ นิเวศยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ตลอดจนข้อเสนอเชิงนโยบาย จะสามารถนำไปสู่โอกาสการเพิ่มจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่เมืองโคราชมากขึ้น ซึ่งจะสู่ผลต่อการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ในภาคการขนส่งถือว่าเป็นร้อยละ 25 ได้มากกว่าร้อยละ 1 ต่อปี และสามารถยกระดับคุณภาพอากาศของเมืองได้มาตรฐาน
เศรษฐกิจอัจฉริยะ ได้จากผลผลิตโครงการวิจัยที่ 2 และ 3 จากโอกาสเชิงพาณิชย์ของ EV Conversion และ E-Scooter โดยเฉพาะกลุ่มนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ ผู้ประกอบการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้า และผู้ประกอบการ E-Scooter ของเมืองโคราช ได้เพิ่มรายได้มีแนวโน้มมากกว่า 250,000 บาทต่อปี
ขนส่งอัจฉริยะ ได้จากผลผลิตโครงการวิจัยที่ 2 การเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้าของพื้นที่เมืองโคราช ในระบบยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง มีทางเลือกการปรับปรุง อาทิ การปรับปรุงภาพลักษณ์ยานยนต์ และการประยุกต์ใช้ web and mobile application ในการให้บริการทั้งผู้ประกอบการเดินรถขนส่งสาธารณะประจำเมืองโคราชและผู้ใช้รถขนส่งสาธารณะ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของโครงการ ถือมีการขับเคลื่อนกิจกรรมในทิศทางนี้ จะสามารถเพิ่มความพึงพอใจต่อขนส่งสาธารณะหรือระบบขนส่งจราจรที่สะดวก มากกว่าร้อยละ 60
พลังงานอัจฉริยะ ได้จากผลผลิตโครงการวิจัยที่ 2 และ 3 บูรณาการเข้ากับการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นของเมืองโคราช ดังนั้นจึงมีโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพและการใช้พลังงานทดแทน มากกว่าร้อยละ 1 ต่อปี
พลเมืองอัจฉริยะ ได้จากผลผลิตโครงการวิจัยที่ 1 และ 3 ด้านระบบจัดการข้อมูลเมืองกับกลไกเศรษฐกิจดิจิทัล แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มตามชุดโครงการ กล่าวคือ ด้านระบบจัดการข้อมูลเมืองมุ่งเน้นด้านพัฒนาระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเปิดของเมืองโคราชและพัฒนายกระดับทักษะดิจิทัลระดับสูงให้กับบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลและวิศวกรข้อมูล ตามลำดับ ส่วนด้านกลไกเศรษฐกิจดิจิทัล ได้ดำเนินการประยุกต์แพลตฟอร์มด้านการให้บริการเดินทางขนาดเล็กระดับย่านของเมือง อาทิ ย่าน City Link Condo and Mayfair Market ให้บริการกับชาวเมืองโคราช และย่านมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ให้บริการกับนักศึกษา ประเด็นเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการส่งเสริมในการเพิ่มสัดส่วนจำนวนประชาชนในพื้นที่มี Digital Literacy
การดำรงชีวิตอัจฉริยะ ได้จากผลผลิตโครงการวิจัยที่ 2 ด้านการส่งเสริมการเพิ่มจำนวนและการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้าของเมืองโคราช ดังนั้นผลกระทบที่สำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า ส่งผลต่อคุณภาพอากาศและค่าดัชนีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้นให้กับเมืองโคราชการบริหารภาครัฐอัจฉริยะ ได้จากผลผลิตโครงการวิจัยที่ 1 ด้วยระบบการจัดการข้อมูลเมือง ผ่าน City Data Platform: CKAN Open-D ซึ่งเป็นแนวคิดการ “ข้อมูลเปิด (Open Data) หรือข้อมูลสาธารณะ (Public)” ตามนิยามของราชกิจจานุเบกษาว่าด้วย “มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ” จะสามารถเพิ่มสัดส่วนประชาชนเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสารทางดิจิทัล มากกว่าร้อยละ 60 และได้จากผลผลิตโครงการวิจัยที่ 3 เกี่ยวกับการสร้างชุมชนดิจิทัลจะสามารถเพิ่มสัดส่วนประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนาบริการสาธารณะมากขึ้นได้
กลไกการขับเคลื่อน
กลไกต้นแบบเพื่อนำไปสู่การตกผลึกรูปแบบพิมพ์เขียว (Blue Print) ของ “แผนพัฒนาเมืองด้านบริการสาธารณะ” ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด (Livable and Smart City) ที่สามารถเชื่อมโยงกลไกความร่วมมือภาคีเครือข่ายพัฒนาเมือง การยกระดับการให้บริการสาธารณะ ยกระดับระบบการจัดการข้อมูลเมือง และนำไปสู่แผนพัฒนาเมืองด้านบริการสาธารณะกับการลงทุน ควรมีพิจารณาจาก 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ระบบและกลไกพื้นที่มีส่วนร่วมของชาวเมืองในระดับต่าง ๆ และ 2) ระบบและกลไกนิเวศเมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด (สำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ การออกแบบชุดโครงการย่อย 3 โครงการ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่าง 2 องค์ประกอบนี้ จะสามารถนำไปสู่กรอบการประเมินความเป็นเมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด ตลอดจนการเป็นผลลัพธ์และผลกระทบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชในด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัล
ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
มหาวิทาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
http://www.facebook.com/RMUTI.PR