เทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

[ งานวิจัย Learning City ปี2566-67] 

โครงการการสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
2.เพื่อสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมือง พื้นที่การเรียนรู้ และนักจัดการการเรียนรู้ในเมืองของเทศบาลนครเกาะสมุย ด้วยการศึกษาท้องถิ่นและการถ่ายทอดความรู้แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน  
3.เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปสร้างคุณค่าและโอกาส ผ่านผลิตภัณฑ์และการบริการภายใต้แบรนด์ของเมือง สู่เศรษฐกิจท้องถิ่นและคุณภาพชีวิตของคนในเทศบาลนครเกาะสมุยอย่างเป็นรูปธรรม

ผลผลิต
การดำเนินงานของคณะทำงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้เกาะสมุย (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย หรือ Stakeholder and Use ประกอบด้วย ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาควิชาการ) ที่ได้ร่วมกันกำหนด Brand ของการขับเคลื่อนเทศบภายใต้าลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ชื่อว่า “กิน อยู่ คือ หมุย” (Eating and Living are Mui) เพื่อนำสู่การ Rebranding City ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการรับรู้และการยอมรับ (Recognition) ในระดับพื้นที่ของเกาะสมุย และได้เกิดผลผลิตดังนี้

จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 มีเป้าหมายในการสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น พบว่าในกิจกรรมที่ 1 และกิจกรรมที่ 2 ได้เกิดกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย (Stakeholder and User) ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก หรือภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภาคี รวมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยทั้ง 2 กิจกรรมได้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)ร่วมกับกลการศึกษาท้องถิ่น (Local Study) และกลไกการสร้างแบรนด์ของเมือง ในการสร้างความร่วมมือผ่านวิธีการจัดประชุมกลุ่มย่อย การลงพื้นที่ศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลชุมชนจากกลุ่มเป้าหมายหลักในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยวิธีการสำรวจภาคสนาม การสังเกต การจัดทำแผนที่วัฒนธรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล การคืนข้อมูล-ตรวจสอบความถูกต้อง การออกแบบระบบฐานข้อมูลบนฐานทุนทางวัฒนธรรมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ของผู้ประกอบการ  และการสร้าง Brandของเมืองย่านเมืองเก่าเทศบาลนครเกาะสมุยชื่อว่า “กิน อยู่ คือ หมุย” (Eating and Living are Mui) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการตลาด (Marketing Campaign) นอกจากนี้ ยังพบว่าผลการศึกษาสามารถสร้างผลผลิต (Output) ได้แก่ (1) ได้ภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้ จำนวนอย่างน้อย 1 กลุ่ม และ (2) ได้กระบวนการยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สอดรับแนวคิดของยูเนสโก (GNLC)

จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 มีเป้าหมายในการสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมือง พื้นที่การเรียนรู้ และนักจัดการการเรียนรู้ในเมืองของเทศบาลนครเกาะสมุยการดำเนินงานของคณะทำงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้เกาะสมุย (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย หรือ Stakeholder and Use ประกอบด้วย ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาควิชาการ) ที่ได้ร่วมกันกำหนด Brand ของการขับเคลื่อนเทศบภายใต้าลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ชื่อว่า “กิน อยู่ คือ หมุย” (Eating and Living are Mui) เพื่อนำสู่การ Rebranding City ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการรับรู้และการยอมรับ (Recognition) ในระดับพื้นที่ของเกาะสมุย และได้เกิดผลผลิตดังนี้

จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 มีเป้าหมายในการสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น พบว่าในกิจกรรมที่ 1 และกิจกรรมที่ 2 ได้เกิดกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย (Stakeholder and User) ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก หรือภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภาคี รวมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยทั้ง 2 กิจกรรมได้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)ร่วมกับกลการศึกษาท้องถิ่น (Local Study) และกลไกการสร้างแบรนด์ของเมือง ในการสร้างความร่วมมือผ่านวิธีการจัดประชุมกลุ่มย่อย การลงพื้นที่ศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลชุมชนจากกลุ่มเป้าหมายหลักในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยวิธีการสำรวจภาคสนาม การสังเกต การจัดทำแผนที่วัฒนธรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล การคืนข้อมูล-ตรวจสอบความถูกต้อง การออกแบบระบบฐานข้อมูลบนฐานทุนทางวัฒนธรรมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ของผู้ประกอบการ  และการสร้าง Brandของเมืองย่านเมืองเก่าเทศบาลนครเกาะสมุยชื่อว่า “กิน อยู่ คือ หมุย” (Eating and Living are Mui) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการตลาด (Marketing Campaign) นอกจากนี้ ยังพบว่าผลการศึกษาสามารถสร้างผลผลิต (Output) ได้แก่ (1) ได้ภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้ จำนวนอย่างน้อย 1 กลุ่ม และ (2) ได้กระบวนการยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สอดรับแนวคิดของยูเนสโก (GNLC) 

จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 มีเป้าหมายในการสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมือง พื้นที่การเรียนรู้ และนักจัดการการเรียนรู้ในเมืองของเทศบาลนครเกาะสมุย

พื้นที่การเรียนรู้ / ระบบนิเวศการเรียนรู้
ระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2566 คณะทำงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้เกาะสมุย (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย หรือ Stakeholder and Use ประกอบด้วย ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาควิชาการ) มาร่วมดำเนินการการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจด้านทุนทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ คุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ คุณค่าทางประวัติศาสตร์และการศึกษา คุณค่าทางสังคมและความสัมพันธ์กับผู้คน คุณค่าทางจิตวิญญาณ คุณค่าทางสัญลักษณ์ คุณค่าทางเศรษฐกิจ คุณค่าของความแท้ และคุณค่าของบูรณภาพในพื้นที่ของเทศบาลนครเกาะสมุย เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการรับรู้ สร้างทักษะ และพัฒนากำลังคนในด้านการสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมืองและพื้นที่การเรียนรู้ในเมืองแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างนิเวศการเรียนรู้ของเมืองและพื้นที่การเรียนรู้ในเมือง” และ “นักจัดการการเรียนรู้ในเมือง” (หรือนักวิจัยชุมชนท้องถิ่น) โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 80 คน พร้อมทั้งดำเนินการจัดเวที Focus Groups โดยกิจกรรมนี้ได้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ร่วมกับกลไกการจัดการนิเวศการเรียนรู้ของเมือง ในการสร้างความร่วมมือผ่านวิธีการจัดประชุมกลุ่มย่อยจากกลุ่มเป้าหมายหลักในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งเกิดกระบวนการออกแบบและสร้างนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเมือง หรือ “พื้นที่การเรียนรู้” ภายใต้หลักการ “กรอบคุณลักษณะที่สำคัญของเมืองแห่งการเรียนรู้” (Key Features of Learning Cities) ของยูเนสโก (UNESCO) ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงอุดมศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ในครอบครัวและชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในที่ทำงาน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ส่งเสริมคุณภาพและความเป็นเลิศในการเรียนรู้ และสนับสนุนวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเข้มแข็ง เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายและแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาสถานที่ในพื้นที่ศึกษาให้เป็นพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเมือง 

โดยผลการศึกษาสามารถสร้างผลผลิต (Output) ได้แก่ (1) ได้สร้างนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเมืองสำหรับคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย ประกอบด้วย (1.1) “ถนนแห่งการเรียนรู้” (Learning Street) จำนวน 1 พื้นที่ คือ ถนนสายกลาง-อ่างทอง ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจ ออกแบบ และกำหนดแนวทางการอนุรักษ์อาคารเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นหรือการส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนา เช่น โครงการบ้านสวยถนนงาม ณ ชุมชนบ้านสายกลาง เพื่อกำหนดรูปแบบการใช้วัสดุอาคาร โทนสีอาคาร รูปแบบหน้าตาของอาคารให้มีความสอดคล้องและอนุรักษ์ความโดดเด่นเอาไว้ และโครงการงานเทศกาล RIM LIGHT ณ ลานกิจกรรมถนนหน้าทอนและถนนสายกลาง เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนบ้านหน้าทอน-บ้านสายกลาง ในมุมมองใหม่ผ่านงาน Art & Craft การแสดงสินค้าและอาหารท้องถิ่นสมุย การจัดกิจกรรม Workshop ที่น่าสนใจ เช่น การถ่ายภาพ งานทำมือ การสาธิตปรุงอาหารและขนมท้องถิ่น และดนตรี เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การอนุรักษ์ฟื้นฟูเมืองท่าสำคัญในอดีตที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนในมุมมองใหม่ ผ่านงาน Art & Craft การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยื่น (Eco Friendly) การสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนด้านการค้าอาหารทะเลของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน เป็นต้น และ (1.2) “อาคารต้นแบบด้านพิพิธภัณฑ์มีชีวิต” (Living Museum) จำนวน 4 พื้นที่ คือ อาคารพาณิชย์โบราณ โรงหนังเก่า บ้านโบราณ ณ สมุย และเรือนรับรองพระอาคันตุกะ ณ วัดสำเร็จ ที่ได้ดำเนินการสำรวจ ออกแบบ และจัดทำการตกแต่งสถานที่ร่วมกับภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้เกาะสมุย เช่น เรือนรับรองพระอาคันตุกะ ณ วัดสำเร็จ ที่ได้ปรับปรุงและพัฒนาเป็น “ศูนย์เรียนรู้ศิลปกรรมท้องถิ่นเกาะสมุย” ซึ่งในวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2566 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จไปยังวัดสำเร็จ ตำบลมะเร็ต อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทรงเป็นองค์ประธานเปิดศูนย์เรียนรู้ฯ ภายใต้แนวคิดห้องสมุดมีชีวิต ทรงทอดพระเนตรศิลปวัตถุ พระพุทธปฏิมาศิลาปะการัง เครื่องทองสำริด เครื่องถ้วยชาม ข้าวของเครื่องใช้อันเป็นมรดก ภูมิปัญญาท้องถิ่น และโดยเฉพาะ “พระคัมภีร์ใบลาน” รวมทั้ง “หนังสือบุด” หรือสมุดข่อยบันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ และ “เอกสารการเสด็จพระราชดำเนินเยือนวัดสำเร็จ” ของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช 2431 เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้พัฒนากำลังคนในพื้นที่ให้

กลไกการขับเคลื่อน  
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ ภายใต้กรอบแนวคิดการวิจัยในการเชื่อมโยงความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย (Stakeholder and User) เพื่อยกระดับและขับเคลื่อนเทศบาลนครเกาะสมุยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีกระบวนการวิจัย คือ “กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม” (Participatory Action Research : PAR) + “กลการศึกษาท้องถิ่น” (Local Study) + “กลไกการจัดการเชิงนโยบาย” + “กลไกการสร้างแบรนด์ของเมือง” + “กลไกการจัดการนิเวศการเรียนรู้ของเมือง” 

ด้านเศรษฐกิจ การสร้างพลังชุมชนหัวตะเข้ “เศรษฐกิจชุมชน ยั่งยืน มั่งคั่ง” ผ่านการนำผลงานวิจัยไปต่อยอดสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนฉะเชิงเทรา โดยมุ่งเน้นการ “สร้างเงิน สร้างอาชีพ” ผ่านการ “โปรโมทแหล่งท่องเที่ยวการเรียนรู้ชุมชนหัวตะเข้” รวมถึง “การต่อยอดสินค้าท้องถิ่นการเรียนรู้เรื่องถุงรีดร้อน” พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการของตลาดสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนกระจายโอกาสส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากกระจายโอกาสลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมมุ่งสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจยั่งยืน

ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
https://www.facebook.com/sruthailand?locale=th_TH

Share :