เขตโขงนคร: กลไกความร่วมมือเพื่อยกระดับพื้นที่แห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจสร้างสรรค์

[ งานวิจัย Learning City ปี2566-67] 

โครงการ เขตโขงนคร: กลไกความร่วมมือเพื่อยกระดับพื้นที่แห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดย ผศ.ดร.กัญลยา มิขะมา, มหาวิทยาลัยนครพนม

วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับทุนของเมืองสู่พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเพื่อส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้และสร้างเศรษฐกิจ
2. เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทักษะดิจิทัลสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจชุมชนและกิจกรรมท่องเที่ยวริมแม่น้ำโขง
3.  สังเคราะห์กิจกรรมเรียนรู้ต้นแบบและความเป็นไปได้ในการพัฒนาและออกแบบยุทธศาสตร์และนโยบายสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเทศบาลเมืองนครพนมให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้
4. เพื่อประเมินผลกระทบทางสังคม (SROI)

ผลผลิต
1. แผนที่ทุนทางวัฒนธรรมย่านชุมชนเก่าริมฝั่งโขงนครพนม
2. คู่มือการเรียนรู้
3. รูปแบบการสร้างทักษะดิจิทัลของผู้ประกอบการริมแม่น้ำโขง
4. พื้นที่เรียนรู้ต้นแบบการจัดการขยะบุญ

พื้นที่เรียนรู้/ระบบนิเวศเรียนรู้

1. พื้นที่เรียนรู้ทางวัฒนธรรม “ถนนการเรียนรู้” (ธำรงค์ประสิทธิ์-ศรีเทพ) เป็นพื้นที่นำร่องเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความหลากหลายของมรดกทางวัฒนธรรมเมืองนครพนม ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ดังนี้
1) การเรียนรู้ด้านชาติพันธุ์ ศาสนสถานและความเชื่อ 2) การเรียนรู้อาคารเก่าวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ 3) ย่านอาคารเก่า

2. พื้นที่การจัดการขยะบุญ บริเวณลานพญาศรีสัตตนาคราช


ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
มหาวิทยาลัยนครพนม
https://www.npu.ac.th

Share :