[ งานวิจัย Learning City ปี2566-67]
โครงการการแนวทางการพัฒนาเมืองสระบุรีสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ โดย ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อหาแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองสระบุรีให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของจังหวัดสระบุรี
2.เพื่อสร้างโปรแกรมการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองสระบุรี ให้ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
3.เพื่อกำหนดโครงการนำร่องและกลไกการพัฒนาโครงการ เพื่อผลักดันการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองสระบุรี
ผลผลิต
1.แผนการพัฒนาเมืองสระบุรีสู่เมืองแห่งการเรียนรู้
2.แนวทางการพัฒนาพื้นที่ยุทธศาสตร์ (พื้นที่อาคารวไลยอลงกรณ์และอาคารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองสระบุรี และตลาดสดเทศบาลเมืองสระบุรีและพื้นที่ต่อเนื่อง) เพื่อผลักดันเมืองสระบุรีสู่เมืองแห่งการเรียนรู้
3.การสร้างภาคีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาพื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อผลักดันเมืองสระบุรีสู่เมืองแห่งการเรียนรู้1
กลไกการขับเคลื่อน
1.การศึกษาวิจัย ออกแบบ และวางแผนการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ ภายใต้การดำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยบริหารและจัดการทุนระดับพื้นที่ (บพท.) เทศบาลเมืองสระบุรี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.การพัฒนาปรับปรุงพื้นที่อาคารวไลยอลงกรณ์และอาคารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองสระบุรี ภายใต้การดำเนินการของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่สระบุรี สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสระบุรี (สกร.) และเทศบาลเมืองสระบุรี
3.การพัฒนาปรับปรุงตลาดสดเทศบาลเมืองสระบุรีและพื้นที่ต่อเนื่องภายใต้การดำเนินการของเทศบาลเมืองสระบุรี
4.การให้บริการการใช้ประโยชน์พื้นที่อาคารวไลยอลงกรณ์และอาคารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองสระบุรีภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสระบุรี
(สกร.) และเทศบาลเมืองสระบุรี
พื้นที่เรียนรู้ / ระบบนิเวศเรียนรู้
พื้นที่อาคารวไลยอลงกรณ์และอาคารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองสระบุรี และตลาดสดเทศบาลเมืองสระบุรีและพื้นที่ต่อเนื่อง

ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.arch.arch.chula.ac.th