[ งานวิจัย Smart City ปี2566-67]
โครงการการยกระดับเมืองน่าอยู่และชาญฉลาดผ่านการพัฒนากลไกการทำงานและฐานข้อมูล : เมืองมหาสารคาม การพัฒนากรอบแนวทางบูรณากาข้อมูลภาครัฐสู่การปลดล็อกศักยภาพข้อมูล โดย ผศ.ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสังเคราะห์แนวทางการบูรณาการข้อมูลภาครัฐอย่างมีส่วนร่วมสู่การปลดล็อกศักยภาพข้อมูล
2. เพื่อเป็นกรอบแนวทางการขับเคลื่อนข้อมูลเปิดภาครัฐตอบสนองข้อมูลในการบริหารราชการแผ่นดินและงานบริการประชาชน
3. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นและปัจจัยอิทธิพลที่เกี่ยวกับการพัฒนากรอบแนวทางการบูรณาการข้อมูลภาครัฐสู่การปลดล็อกศักยภาพข้อมูลในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและนครสวรรค์
ผลผลิต
1. กำลังคน ที่ได้รับการพัฒนาทักษะ 200 คน
2. เครือข่าย 2 จังหวัด มหาสารคาม นครสวรรค์
3. รายงานการสังเคราะห์ข้อมูลการพัฒนากรอบแนวทางการบูรณาการข้อมูลภาครัฐสู่การปลดล็อกศักยภาพข้อมูล
3.1 ปัจจัยที่มีผลต่อ Open Data (1) ปัจจัยภายใน (2) ปัจจัยภายนอก (3) กฎหมาย ระเบียบ และข้อมูลบังคับ
3.2 ผลกระทบของหน่วยงานภาครัฐต่อมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (1) กลุ่มผู้ให้บริการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูล (2) กลุ่มผู้ให้บริการข้อมูล (3)กลุ่ม ผู้ใช้บริการ
3.3 การทดสอบอิทธิพลของตัวแปรอิสระที่มีผลตัวแปรตาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสามารถสรุปได้ดังนี้
(1) กรอบกฎหมายและระเบียบข้อบังคับในการคุ้มครองข้อมูลความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีผลกระทบทางบวกต่อหลักการในการดําเนินการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลพื้นฐาน
(2) โครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรที่นำมาใช้กับข้อมูลเปิด มีผลกระทบทางบวกต่อการออกแบบอินเทอร์เฟสของระบบข้อมูลเปิด
(3) อินเทอร์เฟสของระบบข้อมูลเปิด มีผลกระทบทางบวกที่เป็นประโยชน์ของการเปิดเผยข้อมูลที่มีต่อหน่วยงานภาครัฐ
(4) แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลขั้นสูง และอินเทอร์เฟสของระบบข้อมูลเปิด มีผลกระทบทางบวกที่เป็นประโยชน์ของการเปิดเผยข้อมูลที่มีต่อภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการให้ข้อมูลเพื่อการพัฒนากรอบแนวทางการบูรณาการข้อมูลภาครัฐสู่การปลดล็อกศักยภาพข้อมูล จำนวน 300 คน
กรอบแนวทางบูรณาการข้อมูลภาครัฐสุ่การปลดล็อกศักยภาพข้อมูล
โดยสรุป การพัฒนากรอบแนวทางการบูรณาการข้อมูลภาครัฐสู่การปลดล็อกศักยภาพข้อมูล มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประโยชน์ของการเปิดเผยข้อมูล ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนควรให้ความสำคัญกับการบูรณาการข้อมูลเปิด โดยมีการจัดการการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ แพลตฟอร์มข้อมูลเปิด องค์ประกอบของระบบ อินเตอร์เฟสของระบบ บริการพื้นฐานของระบบ เพื่อส่งเสริมการบูรณาการข้อมูลเปิดภาครัฐและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจ
ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
https://mbs.msu.ac.th/th2024/