ยกระดับเมืองน่าอยู่และชาญฉลาดผ่านการพัฒนากลไกการทำงานและฐานข้อมูล ภายใต้การบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา 

[ งานวิจัย Smart City  ปี2566-67] 

โครงการการยกระดับเมืองน่าอยู่และชาญฉลาดผ่านการพัฒนากลไกการทำงานและฐานข้อมูลการยกระดับกลไกการบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ภายใต้การบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา (อบจ.)  โดยผศ.ดร.สมคิด จู้หว้าม, มหาวิทยาลัยพะเยา

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาข้อมูลสารสนเทศของข้อมูลสาธารณสุข (43 แฟ้ม) และแนวทางการบริการและบริหารทางด้านสาธารณสุข ภายใต้การดำเนินงานของ อบจ .พะเยา.
2. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลทางด้านสาธารณสุขที่เหมาะสมกับ รพ.สต. ภายใต้การดำเนินงานของ อบจ .พะเยา
3. เพื่อจัดทำกลไกการบริหารจัดการเหมาะสมของการจัดการด้านสาธารณสุขที่เหมาะสมกับรพ.สต.ของ อบจ.พะเยาเพื่อประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI)

ผลผลิต
การจัดทำข้อมูลสารสนเทศทางด้านสาธารณสุข (43 แฟ้ม)
1. ข้อมูลของประชาชนเกี่ยวกับ สาธารณสุข / เส้นทางของข้อมูลทางด้านสาธารณสุขที่เชื่อมโยงระหว่าง หน่วยงานต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้อง
2. ได้ฐานข้อมูลเบื้องต้นของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลด้านสาธารณสุข
3. เกิดภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสาธารณสุข และการบริการด้านสาธารณสุข 1 เครือข่าย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยพะเยา อบจ. อบต. สสจ. เป็นต้น
4. เกิดกลไกในการพัฒนาข้อมูลระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลด้านสาธารณสุขของจังหวัดพะเยา

การพัฒนาฐานข้อมูลทางด้านสาธารณสุข และการจัดทำ Application ของมือถือ
1. แนวทางการบริการสาธารณสุข /แนวทางการบริหารงานสาธารณสุข / Phayao health map
2 .Phayao Smart Health Database และ Phayao health super application ที่พร้อมจะทดลอง ในพื้นที่จริง
3. เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน ด้านระบบสารสนเทศของ รพ.สต. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ได้รับการ Up skill/Re-skill 1) ด้านการอภิบาลระบบ 2) ด้านบุคลากร  3) ด้านงบประมาณ  4) ด้านระบบบริการ จำนวน 30 คน
4. เกิดนักจัดการด้าน Smart Health จำนวน 30 คน
5. ประชาชนในพื้นที่จังหวัดพะเยาเข้าใช้งาน Phayao health super application จำนวน 2,700 คน

การจัดนโยบายทางด้านสาธารณสุขการประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

1. เกิดต้นแบบการใช้งาน Phayao Smart Health Database และ Phayao health super application ที่เหมาะสม
2. นโยบายที่สำคัญที่ทาง อบจ พะเยา สามารถนำไปดำเนินการ
3. ทางโครงการจะทราบถึงผลกระทบของการดำเนินการวิจัยและพัฒนาผลจากการคำนวนเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการพบว่า ทางโครงการจะมีรายได้สุทธิใน 5 ปีของการดำเนินการ ผลการวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net present value: NPV) เท่ากับ 8,818,281 บาท ได้ผลตอบแทนจากการดำเนินโครงการนี้หรือ ผลการวิเคราะห์อัตราผลของกานตอบแทนภายใน (Internal rate of return: IRR) หรืออัตราผลตอบแทนคิดลด คือ อัตราคิดลด (discount rate) เท่ากับ 23.64% ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนคาร ทำให้โครงการนี้มีความคุ้มค่าในการลงทุน นอกจากนี้ หากพิจารณาอัตราส่วนผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของผลได้ตลอดอายุโครงการต่อผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของต้นทุนตลอดอายุโครงการ เท่ากับ 1.76 นั้นแสดงว่าลงทุนในโครงการนี้ 1 บาท ได้ผลตอบแทนถึง 1.97 บาท ทำให้โครงการดังกล่าวหากดำเนินการต่อไปจะมีรายได้ มากว่ารายจ่าย 1.76 เท่า

กระบวนการยกระดับกลไกและฐานข้อมูล
การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสาธารณสุขในการสอบถามข้อมูลในพื้นที่ทางคณะวิจัยได้รับความร่วมมือกับประชาชนในพื้นที่ในการเข้าร่วมสำรวจข้อมูลในพื้นที่ และยังได้รับความร่วมมือของ อสม.ในการพาคณะวิจัยไปยังในพื้นที่แต่ละพื้นที่ เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ของงานที่เที่ยงตรงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสารสนเทศของตัว Application Phayao Health 

ภารกิจที่จะต้องดำเนินการของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา โดยมี หน่วยวิชาการ (คณะวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา) เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนความรู้ และกระบวนการดำเนินการ ซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวทางด้านสุขภาพ (HDC) ที่มาจาก รพ.สต. โดยที่ทางมหาวิทยาลัย ช่วยในการวิเคราะห์ จัดทำข้อมูลที่เหมาะสม ในรูปแบบของสารสนเทศและฐานข้อมูลที่ทาง อบจ พะเยา สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไป กำหนดนโยบายการดำเนินการ การสร้างกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ที่มาจาก อบจ หรือรพ.สต รวมทั้งการควบคุมและวางแผนทางด้านการเงินต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญ แบบเดิม ทางประชาชนจะต้องเดินมารับบริการ แต่แบบใหม่ ประชาชนสามารถทำระบบจองคิว หรือขอความช่วยเหลือด้านสุขภาพได้ ทันที นอกจากนี้ทาง อบจ ยังได้แผนที่สุขภาพเพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ทั้งหมดสามารถ การย้อนกลับของข้อมูลได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจาก ทาง เทศบาลเมืองพะเยาในการให้บริการนำร่องในพื้นที่ดูและทางด้านสาธารณาสุขอีกทางหนึ่งในการช่วยดำเนินการในระบบการบริหารจัดการร่วม (Co management)

พิธีส่งมอบ  Application ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 ร่วมกับประธานในพิธี นายอัครา พรหมเผ่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา และรองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา และคณะผู้วิจัยเป็นผู้ส่งมอบ Application เพื่อการต่อยอดในการยกระดับให้กับจังหวัดพะเยาเพื่อเป็นตัวอย่างของจังหวัดที่ส่งเสริมสุขภาพ

ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
http://www.ph.up.ac.th


Share :