[ งานวิจัย Smart City ปี2566-67]
โครงการการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนผ่านการพัฒนาเมืองน่าอยู่และชาญฉลาด: สระบุรี ต้นแบบความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมในการสร้างงานในพื้นที่ผ่านการพัฒนาอาชีพบนฐานพืชพลังงานสู่BCG จังหวัดสระบุรี โดย คุณวรณัน ดีล้อม, บริษัท เฟิร์ส เอเนอร์ยี่ คอร์ป จำกัด
ผลผลิต
โครงการเริ่มต้นจากเกษตรกรท้องถิ่นที่ร่วมมือร่วมใจเข้าร่วมโครงการต้นแบบเพื่อสร้างงานผ่านการเพาะปลูกพืชพลังงานซึ่งกลายเป็นแหล่งรายได้สำหรับชุมชนท้องถิ่นได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้พืชพลังงานเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจปลูกและผลิตพืชพลังงานโดยอนุญาตให้แลกเปลี่ยนความรู้และการแบ่งปันความคิดเห็น พร้อมทั้งศูนย์การเรียนรู้พืชพลังงานยังถูกใช้ในการทดลองและเพาะท่อนพันธุ์ของหญ้าเนเปียร์ในราคาที่คุ้มค่า และเกิดผลลัพธ์ของการจัดตั้งกิจการเพื่อสังคมเพื่อขยายผล BCG Model “บริษัท เฟิร์ส เอเนอร์ยี่ คอร์ป จำกัด” ที่มีโครงสร้างและขั้นตอนการขยายเครือข่ายบริษัท เฟิร์ส เอเนอร์ยี่ คอร์ป จำกัด สู่การบริหารบริษัท เฟิร์ส เอเนอร์ยี่ คอร์ป จำกัดร่วมด้วย

กระบวนการยกระดับเศรษฐกิจชุมชน
จากผลการดำเนินโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัดร่วมกับเครือข่ายเกษตรกร ชุมชนโดยรอบโรงงานพบว่า การดำเนินการจะเกิดช่องว่าง (Gap) ของการดำเนินงานวิจัยเกิดผลกระทบเชิงบวกต่อเกษตรกรในชุมชนเครือข่ายที่เข้ามาร่วมโครงการวิจัยโดยเกิดการจ้างงานในห่วงโซ่อุปทานพืชพลังงาน (หญ้าเนเปียร์) 6 ตำแหน่งงานจำนวน 16 คนต่อพื้นที่ 5 ไร่ หากเกิดการลงทุนในครอบครัวหรือ 1 ครัวเรือนสามารถสร้างงานและรายได้ต่อ 1 ครัวเรือน 3-4 คน โดยรอบของการขายพืชพลังงาน (หญ้าเนเปียร์) 3 ครั้งต่อปี (4 เดือน: 1 ครั้ง) สร้างรายได้ต่อผลผลิตสำหรับเกษตรกรในเครือข่าย 3 รูปแบบ แบบที่ 1 ผลผลิตสดสำหรับเป็นพืชพลังงานชีวมวลตันละ 300 บาท แบบที่ 2 ผลผลิตแห้งสำหรับเป็นพืชชีวมวล (ความชื่นต่ำกว่า 35%) ตันละ 1,500 บาท และแบบที่ 3 ผลผลิตสดสำหรับเป็นพืชอาหารสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 15-30 บาท
จากผลการดำเนินโครงการวิจัยเกิดการสร้างงานในพื้นที่
การประเมินความต้องการในพื้นที่ การสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการแรงงาน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ระบบน้ำ การขนส่ง) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างงาน การส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) โดยการสนับสนุนธุรกิจในพื้นที่ การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะ การจัดโปรแกรมฝึกอบรมและพัฒนาทักษะ การส่งเสริมการลงทุนจากภาคเอกชน การสร้างแรงจูงใจทางการเงิน และการพัฒนาภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมท้องถิ่น การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต การพัฒนาโครงการเกษตรกรรมที่เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
กลไกการขับเคลื่อน
กลไกการขับเคลื่อนเน้นกลไกความร่วมมือ กลไกทางการเงินและกลไกการลงทุน ซึ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อพื้นที่ให้เกิดการจ้างงานในห่วงโซ่อุปทาน ผลการดำเนินโครงการปี 66 นำไปสู่การขยายผลโครงการตามโมเดลการลงทุนยั่งยืน (Sustainable Investment Model) เน้นกระบวนการในการลงทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารงานองค์กร (Environmental, Social, and Governance หรือ ESG) โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนในระยะยาวพร้อมกับลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
ผลการดำเนินงานโครงการ SCG ปีงบประมาณ 2566 “การส่งเสริมการปลูกพืชพลังงาน (เนเปียร์) สู่การเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย”