[ งานวิจัย Border City เมืองชายแดน ปี2566-67]
การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานระบบนิเวศการลงทุนพืชพลังงานในการยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่เมืองชายแดนและเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG: จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม โดย ดร.ภานุวัฒน์ คำใสย และคณะผู้วิจัย สังกัด บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด
โครงการการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานระบบนิเวศการลงทุนพืชพลังงานในมิติของพืชพลังงานที่จะนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่เมืองชายแดนของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและการวิเคราะห์กระบวนการผลิตในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการแปรรูปพืชพลังงานเดิมเรียกว่า “การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานเดิมที่มีอยู่” ประกอบด้วย ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด และยางพารา และการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานของพืชพลังงานของทั้ง 3 จังหวัดใหม่ในการส่งเสริมการปลูกหรือการผลิตตามความต้องการของตลาดในแต่ละจังหวัดหรือเรียกว่า “การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานใหม่” ประกอบด้วย หญ้าเนเปียร์ และ ไม้ไผ่ในพื้นที่ชายแดนจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy; Bio-Circular Green Economy) และแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยง โดยมีกรอบการวิจัยดังนี้
กรอบการวิจัย
โดยกำหนดพื้นที่ดำเนินการโครงการวิจัยนำร่องโครงการในพื้นที่อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
ผลการดำเนินงาน มีดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการเกษตร (เดิม) ของกลุ่มเกษตรกรตำบลดอนตาล
พื้นที่ตำบลดอนตาลส่วนใหญ่ประกอบการเกษตร โดยจะทำนา (ปลูกข้าว) ซึ่งหลังฤดูการเก็บเกี่ยวเกษตรกรก็จะเพาะปลูกถั่วลิสงและข้าวโพดซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่ผสมที่ปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูกาล
โดยส่วนใหญ่จะเป็นพืชระยะสั้นอายุประมาณ 3 – 4 เดือน เพื่อที่จะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกข้าวนาปีต่อไป
ห่วงโซ่อุปทานการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
2. ผลการออกแบบห่วงโซ่อุปทาน (ใหม่) พืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยงจังหวัดมุกดาหาร
ห่วงโซ่อุปทานการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรตำบลดอนตาลใหม่ควรเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากวิถีชีวิตเดิมของเกษตรกรในพื้นที่ดอนตาลที่ไม่เพิ่มต้นทุนที่มากและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นที่ตั้งอยู่บนฐานความร่วมมือที่เกิดขึ้นจากความต้องการจากกลุ่มเกษตรกรในเครือข่ายและการขยายผลองค์ความรู้จากสมาชิกไปสู่ผู้ที่สนใจในชุมชน จากผลการดำเนินโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัดร่วมกับเครือข่ายเกษตรกร ชุมชนโดยรอบโรงงานพบว่า การดำเนินการจะเกิดช่องว่าง (Gap) ของการดำเนินงานวิจัยเกิดผลกระทบเชิงบวกต่อเกษตรกรในชุมชนเครือข่ายที่เข้ามาร่วมโครงการวิจัยโดยเกิดการจ้างงานในห่วงโซ่อุปทานพืชพลังงาน (หญ้าเนเปียร์) 6 ตำแหน่งงานจำนวน 16 คนต่อพื้นที่ 5 ไร่ หากเกิดการลงทุนในครอบครัวหรือ 1 ครัวเรือนสามารถสร้างงานและรายได้ต่อ 1 ครัวเรือน 3-4 คน โดยรอบของการขายพืชพลังงาน (หญ้าเนเปียร์) 3 ครั้งต่อปี (4 เดือน: 1 ครั้ง) สร้างรายได้ต่อผลผลิตสำหรับเกษตรกรในเครือข่าย 3 รูปแบบ แบบที่ 1 ผลผลิตสดสำหรับเป็นพืชพลังงานชีวมวลตันละ 300 บาท แบบที่ 2 ผลผลิตแห้งสำหรับเป็นพืชชีวมวล (ความชื้นต่ำกว่า 35%) ตันละ 1,400 บาท โดยอ้างอิงตามค่าความร้อน ซึ่งราคาจะปรับขึ้นลงตามกลไกตลาดด้วย (ภายใต้ความร่วมมือของ SCG/กิจการเพื่อสังคม/โครงการวิจัยฯ ของ บพท.) และแบบที่ 3 ผลผลิตสดสำหรับเป็นพืชอาหารสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 5-30 บาท ตามขนาดและความสดของสินค้า
ห่วงโซ่อุปทาน (ใหม่) พืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีสู่จังหวัดมุกดาหาร
3. ผลกระทบในการขยายผลและการเกิดการจ้างงานในห่วงโซ่อุปทานพืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยงจังหวัดมุกดาหาร
การทดลองการขยายผลต้นแบบการปลูกพืชพลังงานได้กำหนดรายละเอียดดังนี้
(1) จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ฯ การปลูกหญ้าเนเปียร์ได้รับความสนใจจากกลุ่มเกษตรกรและเทศบาลตำบลดอนตาลเพื่อดำเนินการปลูกเพื่อเป็นพืชที่จะสามารถสร้างโอกาสใหม่สำหรับการสร้างรายได้ใหม่เพิ่มขึ้นจากการปลูกข้าว ถั่วลิสง ข้าวโพด และหญ้าเลี้ยงสัตว์ โดยมีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมทั้งหมด 26 ราย
(2) พื้นที่ที่ใช้ในการปลูก การปลูกหญ้าเนเปียร์ได้มีการขยายผลไปยังพื้นที่ดอนตาลจำนวน 15 ไร่ ทำให้เกิดการเพิ่มพื้นที่การปลูกในกลุ่มที่ก่อนหน้านี้ที่จังหวัดสระบุรี เนื่องจากจำนวนพันธุ์ของหญ้าเนเปียร์ที่คณะผู้วิจัยดำเนินการทดลองปลูกที่จังหวัดสระบุรีมีจำนวนที่จำกัดสำหรับการขยายพื้นที่ประกอบกับพื้นที่ของเกษตรผู้เข้าร่วมโครงการยังไม่สามารถจัดเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกได้พร้อมกันจึงจะเป็นทยอยขยายพื้นที่
(3) การขยายผลมีแนวโน้มสูง พื้นที่การปลูก ณ ปัจจุบัน นอกจากพื้นที่ตำบลดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
มีแผนจะขยายผลไปยังจังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกับกลุ่มเกษตรกร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ภายใต้โครงการ SRA ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายหลักของโครงการ ฯ นี้ คณะผู้วิจัยกำลังดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการขยายผลในอนาคตเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและการให้โอกาสโครงการความร่วมมือแบบบูรณาการของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ด้วย
การดำเนินโครงการ ฯ ได้ขยายผลการดำเนินการต้นแบบการปลูกและการแปรรูปพืชพลังงานให้กลุ่มเกษตรกรได้รับความสนใจและการสนับสนุนจากจำนวนรายที่เพิ่มขึ้นและมีการขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยมีแนวโน้มที่จะขยายผลการปลูกหญ้าเนเปียไปยังกลุ่มเดิมที่ปลูกพืชอื่น ๆ ในอนาคต อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำปางนี้เป็นเพียงภาพรวมเบื้องต้นของการดำเนินการขยายผลของโครงการ ฯ
ผลลัพธ์ของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
พืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์
4. ภาพรวมในการเชื่อมโยงเครือข่ายและเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานระบบนิเวศการลงทุนพืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ในการยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่เมืองชายแดนและเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG
จากผลการดำเนินโครงการวิจัย ฯ ในพื้นที่ จะสามารถช่วยลดช่องว่างของอัตราการว่างงานในพื้นที่ได้ในสัดส่วนร้อยละ 10 ตามแนวทางปฏิบัติ BCG Economy Model (Bio Economy / Circular Economy / Green Economy) โดยอธิบายกระบวนการเสริมสร้างช่องว่าง ดังนี้
4.1) มิติเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) การพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพที่เน้นห่วงโซ่อุปทานของพืชพลังงานสามารถสร้างงานในสายอุตสาหกรรมพืชพลังงาน เช่น กระบวนการการผลิตพืชพลังงาน และกระบวนการแปรรูปพลังงาน
4.2) มิติเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) กระบวนการพัฒนาการรับรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและการสนับสนุนธุรกิจแก่ประชาชนและเกษตรกร อาทิ เศษวัสดุจากภาคการเกษตร (ฟางข้าว / ใบอ้อย / ใบและลำต้นของมันสำปะหลัง)
4.3) มิติเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โครงการวิจัย ฯ เน้นกระบวนการผลิตพืชพลังงานที่เป็นพลังงานสีเขียวจากวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรและการส่งเสริมการผลิตพืชพลังงานอย่างเป็นระบบ โดยนำไปใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Biomass Pellets) ที่มีการผลิตมาจากแหล่งที่พื้นที่เป้าหมายแยกออกเป็นรูปแบบเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Biomass white pellets) และเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Biomass black pellets) โดยอาศัยเทคโนโลยีการแปรรูปในกระบวนการแปรรูปไบโอซาร์หรือถ่านชีวภาพผลิตพลังงานชีวภาพ (Biochar producing bioenergy) แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ จากพืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ที่ได้รับการส่งเสริมการปลูกอย่างเป็นระบบและจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือของเสียทางการเกษตร
ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด
http://www.scgbuildingmaterials.com