ต้นแบบการพัฒนาเมืองน่าอยู่และชาญฉลาด : เชียงใหม่

[ งานวิจัย Smart City  ปี2566-67] 

โครงการต้นแบบการพัฒนาเมืองน่าอยู่และชาญฉลาด : เชียงใหม่ โดย ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล, สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการจัดการขนส่งและจราจรอัจฉริยะในพื้นที่ถนนนิมมานเหมินท์เพื่อความปลอดภัยและกระตุ้นเศรษฐกิจ
2.ปฏิบัติการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่แม่ข่าและลำน้ำสาขาจากทุกภาคส่วน
3.เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์เครือข่ายพัฒนาเมืองโดยพัฒนาแผนความร่วมมือ แผนการบริหารเครือข่าย และการจัดการระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ

ผลผลิต
1.ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ด้านการขนส่งและจราจรในพื้นที่นิมมานเหมินท์
2.แผนอัจฉริยะด้านการขนส่งและจราจร ซึ่งมีข้อมูลเรื่องบริการบอกจุดจอดรถสำหรับประชาชน บริการแจ้งเส้นทางการเดินรถสำหรับประชาชน การจัดการอัตราการไหลและความหนาแน่นของพื้นที่นิมมานเหมินท์ 
3.แบบจำลองแสดงรายละเอียดการพัฒนาพื้นที่ริมคลองแม่ข่า (แบบจำลองแสดงรายละเอียดการพัฒนาพื้นที่ริมคลองแม่ข่า (ที่แสดงมิติการพัฒนาอย่างรอบด้าน) ขนาดพื้นที่รวมไม่น้อยกว่า 2 ตร.ม.) 
4.ชุดองค์ความรู้ที่สังเคราะห์ออกมาเป็น MaeKha Atlas 
5.ฐานข้อมูลรายนามเครือข่ายการพัฒนาคลองแม่ข่าและลำน้ำสาขา
6.ชุดข้อมูลสถานการณ์การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่แม่ข่าและลำน้ำสาขา
7.ชุดข้อมูลแม่ข่า อดีต-ปัจจุบัน 
8.ชุดองค์ความรู้ของโครงการในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่แม่ข่าและลำน้ำสาขาอย่างยั่งยืน
9.ศูนย์ปฏิบัติการ “MaeKha City Lab” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการสร้างการมีส่วนร่วมการพัฒนาพื้นที่แม่ข่าและลำน้ำสาขา 
10.ชุดข้อมูลเครือข่ายด้านการพัฒนาเมืองน่าอยู่ในพื้นที่ต้นแบบ
11.กลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายความร่วมมือเพื่อให้เกิดรูปแบบการพัฒนาเมือง
รูปแบบการจัดตั้งเครือข่ายการพัฒนาเมืองในพื้นที่ดำเนินการ และเกิดเครือข่ายพัฒนาเมืองอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งแผนการบริหารเครือข่ายและการจัดการระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ต้นแบบ

โครงการวิจัยตอบโจทย์การเป็นเมืองอัจริยะอย่างไร
มิติด้านความปลอดภัย
1.ทัศนาจรมีความสะดวกและปลอดภัย
2.แบบจำลองแผนการจัดการจราจรในพื้นที่นิมมานเหมินท์
3.แผนกลยุทธ์ด้านการจัดการขนส่งและจราจรอัจฉริยะในพื้นที่นิมมานเหมินท์ เพื่อความปลอดภัยและกระตุ้นเศรษฐกิจ

    มิติด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
    1.การเพิ่มขึ้นของมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่นิมมานเหมินท์เติบโตขึ้นร้อยละ 20
    2.เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ และมีการเชื่อมโยงย่านธุรกิจ คุณภาพชีวิต สังคมของพื้นที่คลองแม่ข่าและลำน้ำสาขา
    3.ลดมลภาวะจากฝุ่นควันรถ อันเกิดจากการใช้ขนส่งสาธารณะมากขึ้นและการจอดรถในพื้นที่ที่กำหนด

      มิติด้านสังค
      1.คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดำเนินการดีขึ้น
      2.เกิดเครือข่ายพัฒนาเมืองเชียงใหม่ในแนวทางเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ

      ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
      สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      https://ora.oou.cmu.ac.th

      Share :