ชุมชนถนนสายไม้บางโพเป็น “พื้นที่แห่งการเรียนรู้งานไม้สำหรับทุกคน”

[ งานวิจัย Learning City ปี2566-67] 

โครงการ การยกระดับและขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของประเทศไทย: การเรียนรู้งานไม้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และสร้างอาชีพจากย่านถนนสายไม้บางโพ ชุมชนประชานฤมิตรโดย ผศ. ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมและสร้างให้ชุมชนถนนสายไม้บางโพเป็น “พื้นที่แห่งการเรียนรู้งานไม้สำหรับทุกคน” ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เกี่ยวข้องที่มีความสนใจในงานไม้และการออกแบบ 
2.เพื่อสร้างหลักสูตรด้านงานสร้างสรรค์ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย (กลุ่มคนว่างงาน) ร่วมกับชุมชนถนนสายไม้บางโพ กรุงเทพมหานคร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
3.เพื่อสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการวางแผนร่วมกับชุมชนและเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการแผนงาน โครงการ กิจกรรมและงบประมาณของภาครัฐ เอกชน และชุมชนได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างนักจัดการการเรียนรู้งานไม้ในเมืองที่เข้ามามีบทบาทในการร่วมอนุรักษ์พัฒนาชุมชนและอาชีพรวมไปถึงการประสานงานร่วมมือกันของภาคส่วนต่าง ๆ ของเมืองกับชุมชนและผู้มีความเชี่ยวชาญ

ผลผลิต
ในระยะ 1 ปี ของการทำงานทำให้เห็นถึงความจำเป็นในการระบุ เจาะจงในบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำหลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์ของชุมชนประชานฤมิตรถนนสายไม้บางโพนี้ อย่างชัดเจน ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมกันของชาวชุมชนและภาคี หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมไปถึงชุมชนรอบข้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งความพร้อมในด้านทรัพยากร และการสนับสนุนทางการเงินที่เหมาะสมและสร้างแรงจูงใจในการผลักดันการทำหลักสูตรนี้ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเหมาะสมโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของการทำหลักสูตรครั้งนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ว่างงาน จำนวน 20 คน และ 2.กลุ่มผู้ประสานงานหลักสูตร ได้แก่ นักวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สอน กลุ่มบริหารชุมชนประชานฤมิตร ถนนสายไม้ บางโพ และโรงเรียนฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร ชาวชุมชนผู้มีหน้าที่ในการดำเนินการหลักสูตรทั้งในด้านของการร่วมกันวางแผนออกแบบหลักสูตร ไปจนถึงการเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมหลักสูตรให้เป็นไปตามแผน และมีความทันสมัย ปลอดภัย กรุงเทพมหานครฯ และโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครฯ ที่มีบทบาทในการร่วมวางแผนจัดทำหลักสูตรและสนับสนุนทรัพยากร เงินทุน การดำเนินการให้แก่ชุมชน จัดเตรียมอำนวยความสะดวกในด้านจุดอ่อนที่มีอยู่ของชุมชน ในการได้มาซึ่งสถานที่การเรียนการสอน เงินอุดหนุนในการทำหลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์ การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและที่จอดรถของพื้นที่ที่ไม่เพียงพอ 

ทั้งนี้หน้าที่ของการประชาสัมพันธ์ที่เป็นกลไกหลักในการทำให้หลักสูตรเป็นที่รู้จักของคนที่หลากหลายในวงกว้างมากยิ่งขึ้นเป็นหน้าที่ของภาคีทุกฝ่ายที่จำเป็นต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับงาน เพื่อลดปัญหาความนิยมเกี่ยวกับงานไม้ของคนในวงกว้าง โดยผลผลิตของโครงการสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

1.หลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์บางโพ: หลักสูตรการเรียนรู้และสร้างอาชีพใหม่ด้านงานไม้ 1 หลักสูตร
2. ผู้เข้าร่วมเรียนหลักสูตรรุ่นที่ 1 20 คน: พัฒนาฝีมืองานไม้กับหลักสูตร 20 คน ได้รับวุฒิบัตรจากโครงการ 19 คน
3. ผู้ถ่ายทอดความรู้หลักสูตร จำนวน 15 คน โดยที่ 12 คนเป็นผู้ประกอบการและช่างในพื้นที่ โดยที่มีผู้ช่วยเหลือในการดูแลผู้เรียน การใช้งานเครื่องจักร เครื่องมือในการทำงาน อีก 3 คน ประจำศูนย์การเรียนรู้
4. ความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร (MOU):บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรุงเทพมหานครภายใต้แผนงานการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมและเมืองแห่งการเรียนรู้
5. รายงานการวิจัยและชุดข้อมูล: ข้อมูลที่หน่วยงานในพื้นที่ ชุมชน สามารถนำไปปรับใช้ในการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้งานไม้ เข้าใจความต้องการของผู้เรียน และโอกาสในการพัฒนาเพื่อต่อยอดหลักสูตรในรูปแบบที่หลากหลาย 

กลไกการขับเคลื่อน 
กระบวนการร่วมหารือและกำหนดทิศทางหลักสูตร ร่วมกับชุมชนถนนสายไม้ประชานฤมิตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรุงเทพมหานคร และภาคีอื่น กระบวนการร่วมกันวางแผนกำหนดหลักสูตรนำร่อง แนวทางการกำหนดและสร้างพื้นที่การเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งานหลัก ผู้ประกอบการ และคนในพื้นที่ รวมไปถึงพันธมิตรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรม

การทดลองกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรงานไม้ทดลองนำร่อง (Sandbox) จากหลักสูตรที่ร่วมกันกำหนดในขั้นตอนก่อนหน้าเพื่อให้เกิดกลไกการศึกษาท้องถิ่น (Local Study) ที่นำไปสู่การสร้างกลไกการเรียนรู้ สำหรับ 1 หลักสูตรกิจกรรม มีผู้ใช้งานหลัก (Key User) ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน/ หลักสูตร (เข้าร่วมตลอดหลักสูตร) และประเมินผลกิจกรรมนำร่องเพื่อการปรับปรุง วิเคราะห์แก้ไขในการสร้างกิจกรรมในอนาคต จากการประเมินความคิดเห็นและการวัดระดับทักษะฝีมือภายหลังเข้าร่วมหลักสูตรนำร่อง นำเสนอผลของกิจกรรมและรับฟังข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงและดำเนินการในปีต่อไป

ในระยะ 1 ปี ของการทำงานทำให้เห็นถึงความจำเป็นในการระบุ เจาะจงในบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำหลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์ของชุมชนประชานฤมิตรถนนสายไม้บางโพนี้ อย่างชัดเจน ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมกันของชาวชุมชนและภาคี หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมไปถึงชุมชนรอบข้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งความพร้อมในด้านทรัพยากร และการสนับสนุนทางการเงินที่เหมาะสมและสร้างแรงจูงใจในการผลักดันการทำหลักสูตรนี้ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม

โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของการทำหลักสูตรครั้งนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ว่างงาน จำนวน 20 คน และ 2.กลุ่มผู้ประสานงานหลักสูตร ได้แก่ นักวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สอน กลุ่มบริหารชุมชนประชานฤมิตร ถนนสายไม้ บางโพ และโรงเรียนฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร ชาวชุมชนผู้มีหน้าที่ในการดำเนินการหลักสูตรทั้งในด้านของการร่วมกันวางแผนออกแบบหลักสูตร ไปจนถึงการเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมหลักสูตรให้เป็นไปตามแผน และมีความทันสมัย ปลอดภัย กรุงเทพมหานครฯ และโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครฯ ที่มีบทบาทในการร่วมวางแผนจัดทำหลักสูตรและสนับสนุนทรัพยากร เงินทุน การดำเนินการให้แก่ชุมชน จัดเตรียมอำนวยความสะดวกในด้านจุดอ่อนที่มีอยู่ของชุมชน ในการได้มาซึ่งสถานที่การเรียนการสอน เงินอุดหนุนในการทำหลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์ การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและที่จอดรถของพื้นที่ที่ไม่เพียงพอ 

ทั้งนี้หน้าที่ของการประชาสัมพันธ์ที่เป็นกลไกหลักในการทำให้หลักสูตรเป็นที่รู้จักของคนที่หลากหลายในวงกว้างมากยิ่งขึ้นเป็นหน้าที่ของภาคีทุกฝ่ายที่จำเป็นต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับงาน เพื่อลดปัญหาความนิยมเกี่ยวกับงานไม้ของคนในวงกว้าง

1. หลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์บางโพ: หลักสูตรการเรียนรู้และสร้างอาชีพใหม่ด้านงานไม้ 1 หลักสูตร

2. ผู้เข้าร่วมเรียนหลักสูตรรุ่นที่ 1 20 คน: พัฒนาฝีมืองานไม้กับหลักสูตร 20 คน ได้รับวุฒิบัตรจากโครงการ 19 คน

3. ผู้ถ่ายทอดความรู้หลักสูตร จำนวน 15 คน โดยที่ 12 คนเป็นผู้ประกอบการและช่างในพื้นที่ โดยที่มีผู้ช่วยเหลือในการดูแลผู้เรียน การใช้งานเครื่องจักร เครื่องมือในการทำงาน อีก 3 คน ประจำศูนย์การเรียนรู้

4. ความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร (MOU): บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรุงเทพมหานครภายใต้แผนงานการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมและเมืองแห่งการเรียนรู้

5. รายงานการวิจัยและชุดข้อมูล: ข้อมูลที่หน่วยงานในพื้นที่ ชุมชน สามารถนำไปปรับใช้ในการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้งานไม้ เข้าใจความต้องการของผู้เรียน และโอกาสในการพัฒนาเพื่อต่อยอดหลักสูตรในรูปแบบที่หลากหลาย

ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.arch.chula.ac.th/arch-cu/TH/contact.html

Share :