[ งานวิจัย Learning City ปี2566-67]
โครงการ ความร่วมมือใน การเพิ่มคุณค่าอัตลักษณ์เมืองไปสู่การยกระดับ และขับเคลื่อนพัทลุงเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ สำหรับคนทุกกลุ่มทุก ช่วงวัย โดย เคนทร์ หนูฤทธิ์, หอการค้าจังหวัดพัทลุง

วัตถุประสงค์
-เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือในการเพิ่มคุณค่าอัตลักษณ์เมืองไปสู่การยกระดับและขับเคลื่อนพัทลุงเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ และวิเคราะห์กลไกเชิงพื้นที่ในการขับเคลื่อนพื้นที่เรียนรู้มีชีวิต (Living learning Space) จากแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดพัทลุง
-เพื่อสร้างการเรียนรู้เมืองแบบมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัยในจังหวัดพัทลุงผ่านกระบวนการศึกษาท้องถิ่น (Local Study) ที่นำไปสู่การสร้างนักจัดการการเรียนรู้ในเมืองพัทลุง (Phatthalung City Learning Administrator) และเครือข่ายพัฒนาเมือง
-เพื่อเพิ่มคุณค่าอัตลักษณ์เมืองไปสู่การยกระดับและขับเคลื่อนพัทลุงเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ จากการต่อยอดผลิตภัณฑ์และการบริการที่สำคัญของเมืองในพื้นที่เพื่อสร้างเศรษฐกิจ
ผลผลิต
การพัฒนาหลักสูตรพัทลุงศึกษาเพื่อเนำมาใช้ใน Learning Space ส่งเสริมการเรียนรู้ หลักสูตรท้องถิ่น (Local Curriculum) เป็นแนวทางการเรียนรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นในระดับท้องถิ่นหรือสถานศึกษาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ความฉพาะตัว และสภาพพื้นที่ของนักเรียนและชุมชนในพื้นที่
กลไกการขับเคลื่อน
อัตลักษณ์เมืองด้วย Quintuple Helix Model เพื่อให้เกิดกลไกความร่วมมือในการเพิ่มคุณค่าอัตลักษณ์เมืองไปสู่การยกระดับและขับเคลื่อนพัทลุงเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการบริหารความร่วมมือร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ประกอบด้วยสำนักงานจังหวัดพัทลุง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง เทศบาลเมืองพัทลุง หอการค้าจังหวัดพัทลุง ประชาสัมพันธ์จังหวัดพัทลุง ท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง สำนักงานโยธาธิการจังหวัดพัทลุง ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง กลุ่มผู้ประกอบการ YEC และสถาบันปฏิบัติการชุมชนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงเป็นหน่วยงานภาคีเครือข่ายในการยกระดับและขับเคลื่อนพัทลุงให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้
การบริหารจัดการเมืองที่มี “นักจัดการเมือง” หรือเรียกว่า “โค้ชเมือง”มาจากกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ Young Entrepreneur Chamber of Commerce (YEC) ในเครือข่ายของหอการค้าจังหวัดพัทลุง เป็นกลสำคัญในการยกระดับและขับเคลื่อนพัทลุงให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้สำหรับคนทุกกลุ่มทุกช่วยวัยที่นำไปสู่การสร้างกลไกความร่วมมือในการเพิ่มคุณค่าอัตลักษณ์เมืองไปสู่การยกระดับและขับเคลื่อนพัทลุงเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้

เรียนรู้/ระบบนิเวศเรียนรู้
เปราะบาง นิทรรศการเพื่อส่งเสริมการเรียนของคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย โดยความร่วมมือจากหน่วยงานในจังหวัดพัทลุง
– Learning Space Urban Design: แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นพัทลุง
– พื้นที่ “คลองนุ้ย” เล่าสตอรีเมืองผ่าน Street Art
– หลักสูตรพัทลุงศึกษาสำหรับทุกคน
พัทลุงพัฒนาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ทุกวัย ออกแบบพื้นที่เรียนรู้สะท้อนภูมิปัญญา ใช้ศิลปะถนนเล่าเรื่องเมือง และพัฒนาหลักสูตรพัทลุงศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจและภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ท้องถิ่น
ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
หอการค้าพัทลุง
https://www.facebook.com/PHATTHALUNGCHAMBEROFCOMMERCE/?locale=th_TH