การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการการค้าชายแดน กรณีศึกษา ด่านสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

[ งานวิจัย Border City เมืองชายแดน ปี2566-67] 

โครงการการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการการค้าชายแดน กรณีศึกษา ด่านสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดย ดร.สุมาลี กรดกางกั้น มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

1. สภาพปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการส่งออกผักและผลไม้ กรณีศึกษา การค้าชายแดน ด่านสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

ในการศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการค้าชายแดนของผู้ประกอบการ การค้าชายแดน กรณีศึกษา ด่านสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ออกไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซียนั้น ต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของประเทศมาเลเซีย โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ผ่านไปยังด่าน Rantau Panjang  ของประเทศมาเลเซีย  เช่น ปัญหาและอุปสรรคของการค้าชายแดน ด้านสิ่งเจือปนและสารปนเปื้อนในผักและผลไม้ และเงื่อนไขในการนำเข้าของประเทศมาเลเซีย  ปัญหาและอุปสรรคของการค้าชายแดน ด้านเอกสารประกอบการนำเข้าและส่งออก ปัญหาและอุปสรรคของการค้าชายแดน ด้านการขนถ่ายสินค้าจากรถบรรทุก และปัญหาและอุปสรรคของการค้าชายแดน ด้านการลักลอบขนสินค้าตามแนวชายแดน  

2. องค์ประกอบแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการส่งออกผักและผลไม้ กรณีศึกษา การค้าชายแดน ด่านสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

นโยบายภาครัฐการค้าชายแดนผู้ประกอบการมีความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร รองลงมาคือ ด้านการสนับสนุนแหล่งเงินทุน น้อยที่สุด คือ ด้านการอบรมให้ความรู้ ด้านศักยภาพผู้ประกอบการการค้าชายแดน ผู้ประกอบการมีความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รองลงมาคือ ด้านทักษะในการประกอบการ น้อยที่สุด คือ ด้านความรู้ความสามารถ

ด้านความพร้อมของผู้ประกอบการการค้าชายแดน ผู้ประกอบการมีความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการตลาด รองลงมาคือ ด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ น้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ

ด้านความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการการค้าชายแดน ผู้ประกอบการมีความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการสื่อสาร รองลงมา คือ ด้านทรัพยากรการบริหาร น้อยที่สุด คือ ด้านภาวะผู้นำ

จากการวิเคราะห์สามารถสรุปห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของผู้ประกอบการส่งออกผักและผลไม้ มีดังนี้

โดยกำหนดพื้นที่ดำเนินการโครงการวิจัยนำร่องโครงการในพื้นที่อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 
ผลการดำเนินงาน มีดังนี้

1. ผลการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการเกษตร (เดิม) ของกลุ่มเกษตรกรตำบลดอนตาล

            พื้นที่ตำบลดอนตาลส่วนใหญ่ประกอบการเกษตร โดยจะทำนา (ปลูกข้าว) ซึ่งหลังฤดูการเก็บเกี่ยวเกษตรกรก็จะเพาะปลูกถั่วลิสงและข้าวโพดซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่ผสมที่ปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูกาล 
โดยส่วนใหญ่จะเป็นพืชระยะสั้นอายุประมาณ 3 – 4 เดือน เพื่อที่จะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกข้าวนาปีต่อไป

ห่วงโซ่อุปทานการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

2. ผลการออกแบบห่วงโซ่อุปทาน (ใหม่) พืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยงจังหวัดมุกดาหาร

ห่วงโซ่อุปทานการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรตำบลดอนตาลใหม่ควรเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากวิถีชีวิตเดิมของเกษตรกรในพื้นที่ดอนตาลที่ไม่เพิ่มต้นทุนที่มากและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นที่ตั้งอยู่บนฐานความร่วมมือที่เกิดขึ้นจากความต้องการจากกลุ่มเกษตรกรในเครือข่ายและการขยายผลองค์ความรู้จากสมาชิกไปสู่ผู้ที่สนใจในชุมชน จากผลการดำเนินโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัดร่วมกับเครือข่ายเกษตรกร ชุมชนโดยรอบโรงงานพบว่า การดำเนินการจะเกิดช่องว่าง (Gap) ของการดำเนินงานวิจัยเกิดผลกระทบเชิงบวกต่อเกษตรกรในชุมชนเครือข่ายที่เข้ามาร่วมโครงการวิจัยโดยเกิดการจ้างงานในห่วงโซ่อุปทานพืชพลังงาน (หญ้าเนเปียร์) 6 ตำแหน่งงานจำนวน 16 คนต่อพื้นที่ 5 ไร่ หากเกิดการลงทุนในครอบครัวหรือ 1 ครัวเรือนสามารถสร้างงานและรายได้ต่อ 1 ครัวเรือน 3-4 คน โดยรอบของการขายพืชพลังงาน (หญ้าเนเปียร์) 3 ครั้งต่อปี (4 เดือน: 1 ครั้ง) สร้างรายได้ต่อผลผลิตสำหรับเกษตรกรในเครือข่าย 3 รูปแบบ แบบที่ 1 ผลผลิตสดสำหรับเป็นพืชพลังงานชีวมวลตันละ 300 บาท แบบที่ 2 ผลผลิตแห้งสำหรับเป็นพืชชีวมวล (ความชื้นต่ำกว่า 35%) ตันละ 1,400 บาท โดยอ้างอิงตามค่าความร้อน ซึ่งราคาจะปรับขึ้นลงตามกลไกตลาดด้วย (ภายใต้ความร่วมมือของ SCG/กิจการเพื่อสังคม/โครงการวิจัยฯ ของ บพท.) และแบบที่ 3 ผลผลิตสดสำหรับเป็นพืชอาหารสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 5-30 บาท ตามขนาดและความสดของสินค้า

ห่วงโซ่อุปทาน (ใหม่) พืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีสู่จังหวัดมุกดาหาร

3. ผลกระทบในการขยายผลและการเกิดการจ้างงานในห่วงโซ่อุปทานพืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยงจังหวัดมุกดาหาร

การทดลองการขยายผลต้นแบบการปลูกพืชพลังงานได้กำหนดรายละเอียดดังนี้

(1) จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ฯ การปลูกหญ้าเนเปียร์ได้รับความสนใจจากกลุ่มเกษตรกรและเทศบาลตำบลดอนตาลเพื่อดำเนินการปลูกเพื่อเป็นพืชที่จะสามารถสร้างโอกาสใหม่สำหรับการสร้างรายได้ใหม่เพิ่มขึ้นจากการปลูกข้าว ถั่วลิสง ข้าวโพด และหญ้าเลี้ยงสัตว์ โดยมีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมทั้งหมด 26 ราย 

(2) พื้นที่ที่ใช้ในการปลูก การปลูกหญ้าเนเปียร์ได้มีการขยายผลไปยังพื้นที่ดอนตาลจำนวน 15 ไร่ ทำให้เกิดการเพิ่มพื้นที่การปลูกในกลุ่มที่ก่อนหน้านี้ที่จังหวัดสระบุรี เนื่องจากจำนวนพันธุ์ของหญ้าเนเปียร์ที่คณะผู้วิจัยดำเนินการทดลองปลูกที่จังหวัดสระบุรีมีจำนวนที่จำกัดสำหรับการขยายพื้นที่ประกอบกับพื้นที่ของเกษตรผู้เข้าร่วมโครงการยังไม่สามารถจัดเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกได้พร้อมกันจึงจะเป็นทยอยขยายพื้นที่

(3) การขยายผลมีแนวโน้มสูง พื้นที่การปลูก ณ ปัจจุบัน นอกจากพื้นที่ตำบลดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 
มีแผนจะขยายผลไปยังจังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกับกลุ่มเกษตรกร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ภายใต้โครงการ SRA ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายหลักของโครงการ ฯ นี้ คณะผู้วิจัยกำลังดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการขยายผลในอนาคตเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและการให้โอกาสโครงการความร่วมมือแบบบูรณาการของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ด้วย

การดำเนินโครงการ ฯ ได้ขยายผลการดำเนินการต้นแบบการปลูกและการแปรรูปพืชพลังงานให้กลุ่มเกษตรกรได้รับความสนใจและการสนับสนุนจากจำนวนรายที่เพิ่มขึ้นและมีการขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยมีแนวโน้มที่จะขยายผลการปลูกหญ้าเนเปียไปยังกลุ่มเดิมที่ปลูกพืชอื่น ๆ ในอนาคต อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำปางนี้เป็นเพียงภาพรวมเบื้องต้นของการดำเนินการขยายผลของโครงการ ฯ

ผลลัพธ์ของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) 
พืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์

4. ภาพรวมในการเชื่อมโยงเครือข่ายและเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานระบบนิเวศการลงทุนพืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ในการยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่เมืองชายแดนและเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG

จากผลการดำเนินโครงการวิจัย ฯ ในพื้นที่ จะสามารถช่วยลดช่องว่างของอัตราการว่างงานในพื้นที่ได้ในสัดส่วนร้อยละ 10 ตามแนวทางปฏิบัติ BCG Economy Model  (Bio Economy / Circular Economy / Green Economy) โดยอธิบายกระบวนการเสริมสร้างช่องว่าง ดังนี้ 
4.1) มิติเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) การพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพที่เน้นห่วงโซ่อุปทานของพืชพลังงานสามารถสร้างงานในสายอุตสาหกรรมพืชพลังงาน เช่น กระบวนการการผลิตพืชพลังงาน และกระบวนการแปรรูปพลังงาน
4.2) มิติเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) กระบวนการพัฒนาการรับรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและการสนับสนุนธุรกิจแก่ประชาชนและเกษตรกร อาทิ เศษวัสดุจากภาคการเกษตร (ฟางข้าว / ใบอ้อย / ใบและลำต้นของมันสำปะหลัง)
4.3) มิติเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โครงการวิจัย ฯ เน้นกระบวนการผลิตพืชพลังงานที่เป็นพลังงานสีเขียวจากวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรและการส่งเสริมการผลิตพืชพลังงานอย่างเป็นระบบ โดยนำไปใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Biomass Pellets) ที่มีการผลิตมาจากแหล่งที่พื้นที่เป้าหมายแยกออกเป็นรูปแบบเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Biomass white pellets) และเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Biomass black pellets) โดยอาศัยเทคโนโลยีการแปรรูปในกระบวนการแปรรูปไบโอซาร์หรือถ่านชีวภาพผลิตพลังงานชีวภาพ (Biochar producing bioenergy) แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ จากพืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ที่ได้รับการส่งเสริมการปลูกอย่างเป็นระบบและจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือของเสียทางการเกษตร

ต้นพันธุ์เนเปียร์ (พันธุ์จักรพรรดิ์) ผลผลิตจากจังหวัดมุกดาหารขยายสู่จังหวัดเชียงใหม่

Share :