การสร้างโซ่คุณค่าข้ามแดน “เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ” กลุ่มธุรกิจ New S Curve

[ งานวิจัย Border City เมืองชายแดน ปี2566-67] 

โครงการการสร้างโซ่คุณค่าข้ามแดน “เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ” กลุ่มธุรกิจ New S Curve ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

1. การศึกษากฎระเบียบที่จำเป็นต่อเขตเศรษฐกิจพื้นที่ชายแดน ผ่านการสร้างความมีส่วนร่วมขององค์กรและประชาชนในพื้นที่ นำไปสู่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาของท้องถิ่นอย่างยั่งยืนให้กับอำเภอเชียงของ มีระเบียบและประกาศรวมกันทั้งหมด 8 ฉบับ และมีนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.1 นโยบายการถือครองและจัดการที่ดินที่เกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
1.2 นโยบายส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ
1.3 นโยบายด้านแรงงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ1.4 นโยบายด้านกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.4 นโยบายด้านกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

2. การสร้างต้นแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามแดน โลจิสติกส์ด่วนและระบบโซ่เย็นอำเภอเชียงของการสร้างกลไกการจัดการสำหรับการเป็นศูนย์กลางด้าน Cross-Border E-Commerce (CBEC) และโลจิสติกส์ด่วนข้ามพรมแดนเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเตรียมพร้อมและจัดการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้ามแดนอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

2.1 การวางแผนและกำหนดเป้าหมาย โดยกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและเข้าใจได้ใน การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน CBEC และโลจิสติกส์ด่วนข้ามพรมแดน การวางแผนที่เหมาะสมจะช่วยให้เป้าหมายเชิงกลยุทธ์บรรลุได้อย่างชัดเจน                                    
2.2 การสร้างโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินงาน CBEC และโลจิสติกส์ด่วนข้ามพรมแดน โดยเปิดให้ภาคเอกชนเข้าร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
2.3 การสร้างพื้นที่ที่เหมาะสม การสร้างหรือปรับปรุงพื้นที่สำหรับการค้าขายและการจัดส่งสินค้า เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการทำธุรกิจ CBEC และโลจิสติกส์ด่วนที่เพิ่มขึ้น
2.4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าที่มีอยู่เพื่อรองรับกิจกรรมพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ข้ามแดน และระบบโทรคมนาคม เพื่อสนับสนุนการขนส่งและการทำธุรกิจ CBEC
2.5 การใช้เทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยีในการจัดการ CBEC และโลจิสติกส์ด่วนข้ามพรมแดน เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติในการตรวจสอบสินค้า การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการติดตามการส่งสินค้า เป็นต้น โดยสามารถผสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการได้
2.6 การสร้างพื้นที่การกักเก็บ การปรับปรุงศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าที่มีอยู่ให้มีความเหมาะสมสำหรับการจัดการสินค้าที่จะถูกขนส่งข้ามแดน โดยการวางแผนให้มีการจัดเก็บและจัดส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
2.7 การจัดการความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งข้ามแดน รวมถึงการตรวจสอบเอกสารทางศุลกากรและการปรับปรุงระบบเพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมายและภาษี
2.8 การสร้างบทบาทและความรับผิดชอบ การสร้างบทบาทและความรับผิดชอบของทั้งภาครัฐและผู้ประกอบการ เพื่อให้เข้าใจและรับรู้ถึงหน้าที่และบทบาทของในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
2.9 การสร้างช่องทางการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูล การสร้างช่องทางการสื่อสารที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการ และพันธมิตรธุรกิจ เพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.10 การตรวจสอบและปรับปรุง การตรวจสอบผลการดำเนินงานและการปรับปรุงตามความต้องการและข้อเสนอแนะ เพื่อให้สามารถพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามเวลา

3.การพัฒนาวิธีการจัดตั้งองค์กรเชิงอุตสาหกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจ ไทย-จีน บน NEC พบว่า การใช้ประโยชน์จากแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) เพื่อพัฒนาวิธีการจัดตั้งองค์กรเชิงอุตสาหกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจ ไทย-จีน อาทิ การศึกษารูปแบบและแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีอุตสาหกรรม “ยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า” (ร่วมกับสมาพันธ์ยานยนต์ EV หรือบริษัทเอกชน) ไทย-จีน สำหรับพัฒนากำลังคนบน NEC เป็นดังนี้  3.1ความคิดเห็นที่มีต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (EV) โดยผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ ร้อยละ 60 เห็นด้วยอย่างยิ่งในประเด็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (EV) ในพื้นที่นำร่อง อ.เชียงของ เป็นสิ่งที่ควรได้รับการสนับสนุน มีความพร้อมเป็นพื้นที่นำร่องหรือกรณีศึกษาเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า
3.2 ความคิดเห็นที่มีต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า โดยผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ ร้อยละ 56 เห็นด้วยอย่างยิ่งในประเด็นการถ่ายทอดเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมผ่านความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษา ควรดำเนินการผ่านกลไกการจับคู่ธุรกิจ และการจัดตั้งองค์กรเชิงอุตสาหกรรม
3.3.ความคิดเห็นที่มีต่อสิทธิประโยชน์ด้านภาษีที่มีต่อการลงทุนในพื้นที่โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ ร้อยละ 50 เห็นด้วยอย่างยิ่งในประเด็น การได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษี การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร ของแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) เอื้อต่อการค้าและการลงทุนในพื้นที่โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน

4. การสร้างหลักสูตรร่วมไทย-จีน รองรับการผลิตกำลังคนและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ไทย-จีน อำเภอเชียงของและ NEC ได้พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาทักษะกำลังคนรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งในหลักสูตรประกอบไปด้วย

4.1 จัดการศึกษาแบบโมดูล (Modular System) โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะผู้เรียนด้านทักษะยานยนต์ไฟฟ้า ที่ เข้าใจหลักการพื้นฐานของการทำงานของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า พัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาและซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า สร้าง โอกาสทางธุรกิจโดยพัฒนา กลยุทธ์การตลาด การบริการของธุรกิจที่เกี่ยวข้องยานยนต์ไฟฟ้า
4.2 เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งยกระดับสมรรถนะและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
4.3 ใช้เทคโนโลยีการจัดการเรียน การสอน ที่เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
4.4 หลักสูตรสามารถจัดการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการเรียนรู้ และปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ โดยเชื่อมโยง ประโยชน์ วิชาการ ทักษะการปฏิบัติงาน ที่ได้ จากชั้นเรียน มาประยุกต์กับการทำงานจริง รวมถึงการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการทำงาน เช่น ทักษะ การแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะการสื่อสาร เป็นต้น
4.5 เป็นการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ และได้ฝึกปฏิบัติงานจริง เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะถอด ประกอบ ตรวจสภาพอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ปรับแต่งบำรุงรักษารถจักรยานยนต์มีทักษะถอด ประกอบ ตรวจสภาพอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ปรับแต่งบำรุงรักษารถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงสามารถสร้างโมเดลทางธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะสม นำไปสู่การประกอบอาชีพแห่งไฟฟ้า รวมถึงสามารถสร้างโมเดลทางธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะสม นำไปสู่การประกอบอาชีพแห่งอนาคต หรือเป็นผู้ประกอบการสร้างธุรกิจของตนเอง เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรอนาคต หรือเป็นผู้ประกอบการสร้างธุรกิจของตนเอง 

5.การสร้างการสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนการเชื่อมโยงความต้องการของโครงการการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจชายแดนภาคเหนือ (NEC) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEEC)
การสื่อสารข้อมูลระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาและการดำเนินงานของโครงการระหว่างประเทศ ดังนี้
1) เครือข่ายและแหล่งข้อมูลในการพูดคุยที่มีความหมาย และก่อเกิดสิ่งใหม่ ๆ ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้มีการเผยแพร่ในสื่อสาธารณะต่างๆ ประกอบด้วย
2) การสร้างกลไกการสื่อสาร สื่อประชาสัมพันธ์การรับรู้ด้านความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทางออนไลน์
(1) การสร้าง Website : ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ www.neco.in.th โดยมีโครงสร้างได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน ความเป็นมา ยุทธศาสตร์ แผนงาน ความคืบหน้า ข่าวสารความคืบหน้า รวมถึงการเป็นฐานข้อมูลระเบียงเศรษฐกิจในทุกภูมิภาคที่ครบวงจร และรวบรวม Dashboard ความคืบหน้า
(2) การจัดสร้างเพจเฟสบุ๊กของโครงการ และสื่อ Blogger ด้านเศรษฐกิจ เพจ: ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
(3) การสร้างเครือข่ายสื่อในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ NEC-NEEC ผ่านระบบฐานข้อมูลเครือข่ายเพจ สื่อสังคม และการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ และการมองภาพอนาคตผ่านกลุ่มไลน์ 

นอกจากนี้ ทางโครงการยังได้จัดการสัมมนาระดมความคิดเห็น การผลักดันศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์อนุภูมิภาครองรับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (CBEC) เชื่อมโยงกับแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) วันที่ 25 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรมเชียงของ ทีค การ์เด้น ริเวอร์ฟร้อนท์ การสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ อ.เชียงของ และพื้นที่ใน จ.เชียงราย  โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาและระดมความคิดเห็นจำนวน 114 ท่าน จากหน่วยงานต่าง ๆ คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ซึ่งสรุปการประชุม โครงการ กิจกรรมสัมมนาและรับฟังความคิดเห็น การผลักดันศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบขนส่งเชียงของสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์อนุภูมิภาครองรับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (CBEC) เชื่อมโยงกับแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) สู่การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษข้ามพรมแดนไทย-ลาว-จีน 

Share :