[ งานวิจัย Border City เมืองชายแดน ปี2566-67]
การศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ดร. อรรฆพร ก๊กค้างพลู และคณะผู้วิจัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โครงการ “การศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” สรุปผลการดำเนินการวิจัยรายละเอียดดังนี้
1. บริบทพื้นที่ สถานการณ์ ข้อมูลพื้นฐานระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern economic corridor: NEEC baseline) บริบทพื้นที่ สถานการณ์ ข้อมูลพื้นฐานระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern economic corridor: NEEC baseline) มีลักษณะความเหมือนของข้อมูลธุรกิจการลงทุนและบริการที่จะเกิดขึ้นร่วมกันในอนาคต ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern economic corridor: NEEC) เป็นระเบียงที่มีการกระตุ้นการพัฒนาจากฐานนโยบายของรัฐบาลจีน คือ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road) ที่มีบทบาทสำคัญในการขยายโอกาสให้กับบริษัท / นักลงทุนของจีนมากขึ้นตลอดแนวระเบียงเศรษฐกิจไทย-ลาว-จีน และเพื่อเป็นการสร้างการเตรียมความพร้อมรับมือสำหรับบริบทเชิงพื้นที่ของประเทศไทยได้มีการดำเนินการตามกรอบเกี่ยวกับความเชื่อมต่อรถไฟจีน-ลาว-ไทย โดยระยะแรก คือ “โครงการรถไฟจีน-ไทย-นครราชสีมา” อยู่ระหว่างขั้นตอนการก่อสร้างอย่างครบวงจร และการดำเนินงานระยะที่สอง “โครงการโคราช-หนองคาย”
2. การวิเคราะห์ช่องว่างห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Gap Analysis)
2.1 ช่องว่างห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว ห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศไทยและประเทศลาวมีลักษณะที่เฉพาะเจาะจงตามลักษณะการค้าและการเคลื่อนย้ายของสินค้าระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะในด้านการค้าสินค้าทางการเกษตรและอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก
1) การค้าและการลงทุน ลาวเป็นตลาดสำคัญสำหรับการค้าและการลงทุนของไทย โดยเฉพาะในการค้าสินค้าทางการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและการบริการ
2) การขนส่งและโลจิสติกส์ ลาวเป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งสินค้าระหว่างภูมิภาคตะวันออกกับภูมิภาคตะวันตก โดยมีทางผ่านขนส่งทางเรือบนแม่น้ำแม่ขาม และมีการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ในลาวที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคในภูมิภาคเอเชีย
3) พื้นที่ชายแดน การพัฒนาพื้นที่ชายแดนระหว่างไทยและลาวเป็นจุดสำคัญในการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานระหว่างพื้นที่ชายแดนสองประเทศช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ดังกล่าว
4) การเข้าถึงตลาดใหม่ การสร้างและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานระหว่างไทยและลาวช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงตลาดใหม่ในลาวได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่อาจมีความต้องการและมีศักยภาพในการซื้อสินค้าและบริการจากไทย
2.2 ช่องว่างห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศจีนและประเทศลาว
1) การค้าและสินค้า จีนเป็นตลาดสำคัญสำหรับการส่งออกสินค้าจากลาว เฉพาะในสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับของไทย โดยมีการค้าเสรีระหว่างทั้งสองประเทศที่มีประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้จีนมีโค้วต้าด้านการเกษตร โดยเฉพาะการค้าและสินค้าด้านการเลี้ยงวัวให้แก่ลาวโดยเฉพาะ
2) การลงทุน จีนเป็นนักลงทุนใหญ่ในลาว โดยมีการลงทุนในหลายแขนงและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โครงการพลังงาน โครงการพาณิชย์ และโครงการโรงงานผลิต
3) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของลาวจากทุนจีนมีอยู่ในหลายกลุ่มโครงการ โดยทั่วไปมักเน้นไปที่โครงการใหญ่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของลาว บางโครงการนำเข้าเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญจากจีนเพื่อสนับสนุนในการสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในลาว ยกตัวอย่างเช่น
4) โครงการสายรถไฟความเร็วสูงจีน ลาว จีนได้ลงทุนในโครงการสร้างสายรถไฟความเร็วสูงในลาว ที่เชื่อมโยงกับเส้นทางทางรถไฟความเร็วสูงในจีน โครงการนี้มีความสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในภูมิภาคและเพิ่มความเชื่อมโยงการขนส่งในภูมิภาค
5) โครงการก่อสร้างท่าเรือและโรงงานผลิต มีโครงการก่อสร้างท่าเรือและโรงงานผลิตที่ได้รับการลงทุนจากจีน เพื่อสนับสนุนในการพัฒนาฐานการผลิตและการส่งออกสินค้าของลาว
6) โครงการพลังงาน มีการลงทุนจากจีนในโครงการพลังงานหลายรูปแบบ เช่น พลังงานไฮโดร พลังงานทดแทน และโครงการพลังงานอื่นๆ เพื่อสนับสนุนในการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนในลาว
7) การขนส่งและโลจิสติกส์ มีการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ในพื้นที่ที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศจีนและประเทศลาว เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศ โดยโครงการที่มีผลกระทบในด้านขนส่งและโลจิสติกส์มากที่สุดในขณะนี้คือ โครงการรถไฟจีน-ลาว
8) การพัฒนาพื้นที่ชายแดน มีการพัฒนาพื้นที่ชายแดนระหว่างประเทศจีนและประเทศลาวเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน และช่วยเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานระหว่างทั้งสองประเทศให้เชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ช่องว่างห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย
1) การค้าและการลงทุน จีนเป็นตลาดสำคัญสำหรับการค้าและการลงทุนของไทย โดยเฉพาะในการค้าสินค้าทางการเกษตรและอุตสาหกรรมใหม่ อุตสาหกรรมอัจฉริยะ และเทคโนโลยี
2) การขนส่งและโลจิสติกส์ จีนเป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งสินค้าระหว่างไทยและภูมิภาคอื่นๆ โดยมีสถานที่จัดเก็บสินค้าและศูนย์ส่งสินค้าที่สำคัญในประเทศจีน เช่น คุณหมิง มณฑลยูนนานกับเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงของจีนมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด
3) การลงทุน จีนเป็นนักลงทุนใหญ่ในไทย โดยมีการลงทุนในหลายภาคและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในการพัฒนาโครงการพลังงาน โครงการพาณิชย์ และโครงการโรงงานผลิต อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และ โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว ถือเป็นแม่เหล็กสำคัญที่จะช่วยดึงดูดให้ นักท่องเท่ียวชาวจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมากขึ้น
4) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน การเชื่อมโยงโซ่อุปทานระหว่างจีนและไทยช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงตลาดใหม่ในจีนได้ง่ายขึ้น
2.4 วิเคราะห์ความสำคัญของห่วงโซ่อุปทานระหว่างจีน ไทย และลาว
1) การจ้างงานและอาชีพ ในพื้นที่ชายแดน โซ่อุปทานเป็นแหล่งรายได้สำคัญสำหรับคนในพื้นที่
2) การเชื่อมโยงกับตลาดนานาชาติ โซ่อุปทานช่วยเชื่อมโยงคนในพื้นที่ชายแดนกับตลาดนานาชาติทำให้สามารถนำสินค้าและบริการไปขายได้ในตลาดโลก
3) การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ การเชื่อมโยงในโซ่อุปทาน ช่วยให้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการในพื้นที่ชายแดน
4) การสนับสนุนในการพัฒนา การเชื่อมโยงในโซ่อุปทานช่วยสนับสนุนในการพัฒนาและการเจริญเติบโตของพื้นที่ชายแดน โดยเฉพาะในด้านพื้นฐานโลจิสติกส์และพื้นฐานอุตสาหกรรมที่สำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้
5) การเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าและบริการของทั้งสามประเทศ จีน ไทย และ ลาว มีความสำคัญอย่างมากในการสร้างโอกาสในการค้าส่งสินค้าและการลงทุนในภูมิภาค โดยมีวิธีการเชื่อมโยงทางทะเลและทางบก การใช้เส้นทางขนส่งทางทะเลและทางบกเพื่อเชื่อมโยงระหว่างประเทศ เช่น เส้นทางทางทะเลที่เชื่อมโยงจีนกับประเทศไทยผ่านทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือการใช้เส้นทางทางบกที่เชื่อมโยงไทยกับลาวผ่านแผ่นดินของทั้งสองประเทศ
3. ประเมินความเป็นไปได้ในการสร้างระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทยในการเชื่อมโยงการพัฒนาความร่วมมือในพื้นที่ ความเป็นไปได้ในการสร้างระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทยในการเชื่อมโยงการพัฒนาความร่วมมือ สามารถเกิดขึ้นจากยุทธศาสตร์ภายใต้การพัฒนาที่สำคัญของประเทศจีน มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะเส้นทางการค้า และการลงทุนที่จะเกิดขึ้นตามยุทธศาสตร์ สามารถทำให้เกิดการนำเข้า และส่งออกได้หลากหลายเส้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเส้นทางรถไฟของจีน ลาว และ ไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่จะเป็นไปได้และเพื่อให้เกิดความสะดวกสำหรับการค้าการลงทุน และผู้ประกอบการที่จะสนใจ นอกจากนี้แต่ละประเทศควรมีการดำเนินการความร่วมมือ สิทธิประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวกในระบบของซัพพลายเชนในการขนส่งสินค้า และบริการที่จะกระจายไปสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ตามพื้นที่ และยังสามารถทำให้ผู้ค้า หรือนักลงทุนในทุกพื้นที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น
1. การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยว ในหลากหลายกลุ่มธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจของที่ระลึก คาเฟ่ สถานบันเทิงต่างๆ ซึ่งแต่ธุรกิจต่างมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอื่นภายในซัพพลายเชน และยังสามารถเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้ และสามารถทำให้เกิดการจ้างงานภายในพื้นที่ การไหลเวียนของนักลงทุน การไหลเวียนของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ทั้งภายใน และภายนอกพื้นที่
2. บุคลากรที่มีความสามารถด้านเทคนิคการรถไฟ ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้ายทายสำหรับประเทศไทยเป็นอย่างมากในการสร้างโรงเรียน หรือวิทยาลัยเพื่อผลิตบุคลากรให้สามารถรองรับทางด้านทักษะเกี่ยวกับความรถไฟที่จะกำลังเข้ามา ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ควรให้การพัฒนาทางด้านทักษะความรู้ความสามารถทางด้านรถไฟ
3.การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการเข้ามาลงทุน เมื่อเกิดการพัฒนาทางด้านพื้นที่ให้มีความพร้อมในการรองรับสำหรับการลงทุนแล้วนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการที่จะมาลงทุนคำนึงถึงคือ สิ่งอำนวยความสะดวก และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่จะสามารถสอดรับกับธุรกิจของผู้ประกอบการ และในส่วนของการเตรียมความพร้อมทางด้านดังกล่าวจะสามารถดึงดูและเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการเข้ามาลงทุนได้
4.การเพิ่มรายได้งบประมาณให้กับภาครัฐบาล เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญเมื่อเกิดการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษแล้วนะจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ และยังเป็นการเพิ่มรายได้งบประมาณให้กับภาครัฐจากภาษีในพื้นที่และธุรกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
5.โอกาสการพัฒนาของวิสาหกิจ หรือผู้ประกอบการท้องถิ่น การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับภาคประชาชนที่จะเป็นการสร้างอาชีพ สร้างธุรกิจ สร้างรายได้ให้กับทางผู้ประกอบการท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
6.การยกระดับพื้นที่ให้มีความนานาชาติ เนื่องจากการเข้ามาของรถไฟความเร็วปานกลางแล้วนั้นเป็นอีกหนึ่งอย่างที่จะสามารถสร้างการลื่นไหลของนักท่องเที่ยว ของผู้ประกอบการ ของนักลงทุน จากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวประเทศลาว และจีน เป็นอีกหนึ่งกลุ่มเป้าหลายที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทยผ่านเส้นทางรถไฟทั้งในรูปแบบท่องเที่ยว และรูปแบบการทำธุรกิจการค้า และการลงทุนที่ง่ายเพิ่มมากขึ้น
7. การพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นที่จะสามารถสนับสนุนให้กับทางอุตสาหกรรมทุกประเภท การพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากรูปแบบที่หลากหลาย เส้นทางของโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางบก เส้นทางรถ เส้นทางรถไฟ เส้นทางเรื่อ เสื้อทางอากาศ สามารถทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ได้อีกมากมาย
8.การเพิ่มโอกาสการจ้างงาน จากอุตสาหกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งในรูปแบบอุตสาหกรรมที่อยู่ในซัพพลายเชนเดิม และ รูปแบบอุตสาหกรรมที่อยู่ในซัพพลายเชนใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพ อุตสาหกรรมต่าง ๆ
9.การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะทำให้เกิดการพัฒนาเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟ และเกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ทักด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง เทคโนโลยีเช่นเดียวกัน ในพื้นที่เกิดการพัฒนาที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้น
3.3 โอกาสเส้นทางที่จะเกิดขึ้นจากยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญของประเทศจีน (BRI)
4. ความร่วมมือที่กำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจในพื้นที่ จีน-ลาว-ไทย
จากการหารือร่วมกับจีน-ลาว และไทย ร่วมกันเกี่ยวกับความร่วมมือนั้นจะเห็นได้ว่าแต่ละภาคีต่างให้ความสำคัญเกี่ยวกับด้านการค้า และเศรษฐกิจเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนได้มีการเสนอแนะเกี่ยวกับความร่วมมือในหลายด้าน ประกอบด้วย 1) ความร่วมมือในการพัฒนา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 2) ความร่วมมือในการสร้างพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษระหว่าง ไทย จีน ลาว และพม่า (การค้าชายแดน) 3) การสร้างความร่วมมือในด้านการทำ business matching 4) ข้อเสนอแนะการลดปัญหาทางด้านการค้าขาย การขนส่งสินค้า เรื่องศุลกากร เรื่องภาษี 5) การสร้างกลไกความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการค้า การลงทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ และการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่และการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่สี่เหลี่ยมทองคำ 6) การสร้างความร่วมมือ ผ่านเส้นทางรถไฟในการขนส่งสินค้าที่หลากหลายรูปแบบ 7) กความร่วมมือทางด้านการค้าระหว่างประเทศ 8) สร้างคอร์สเกี่ยวกับการพัฒนาทักษาะฝีมือแรงงาน ทั้งในระดับ อนุปริญญา มหาวิทยาลัย และเชี่ยวชาญ 9) ความร่วมมือในการสร้างสถาบันเพื่อเป็นการแชร์ข้อมูลระหว่าง จีน ลาว ไทย 10) ความร่วมมือทางด้านการส่งเสริมทางด้านราคาของสินค้า หากเป็นไปได้ในส่วนของรัฐบาลไทย ลาว และจีน ควรมีการหารือร่วมกันเกี่ยวกับทางด้านของราคาสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มีการขนส่งตามเส้นทางรถไฟ 11) ความร่วมมือในด้านการค้า และการลงทุน ทั้งในธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่
ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://www.facebook.com/kkbskku