การยกระดับเศรษฐกิจร่วมของเมืองชายแดนจังหวัดยะลาและนราธิวาสเพื่อยกระดับรายได้ของพื้นที่ชายขอบ

[ งานวิจัย Border City เมืองชายแดน ปี2566-67] 

การยกระดับเศรษฐกิจร่วมของเมืองชายแดนจังหวัดยะลาและนราธิวาสเพื่อยกระดับรายได้ของพื้นที่ชายขอบ โดย ผศ.ดร.อิสมะแอ เจ๊ะหลง, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

1. สภาพปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการส่งออกผักและผลไม้ กรณีศึกษา การค้าชายแดน ด่านสุไหงโก-ลก จังหวัดน
1. บริบทพื้นที่ (เชิงลึก) ของพื้นที่ชายแดนจังหวัดยะลาและนราธิวาส พื้นที่ชายแดนของจังหวัดยะลาและนราธิวาสมีสถานการณ์การเมืองที่ซับซ้อน มีปัญหาความไม่สงบทางการเมือง และความขัดแย้งทางการเมืองเศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดนของจังหวัดยะลาและนราธิวาสมีลักษณะที่เฉพาะเจาะจง เศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดนจังหวัดยะลาและนราธิวาสมีหลายด้าน ได้แก่
1. เกษตรและการผลิตทางการเกษตร การเกษตรเป็นกิจกรรมที่สำคัญในพื้นที่ชายแดนจังหวัดยะลาและนราธิวาส การปลูกพืชเช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และผลไม้ต่าง ๆ
2. การค้าขายในตลาดชายแดน พื้นที่ชายแดนเป็นที่ตั้งของตลาดชายแดนที่มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย สินค้าที่นำเข้าและส่งออกมีความหลากหลาย เช่น ข้าว ผลไม้ กุ้ง ยางพารา และสินค้าจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ
3. การท่องเที่ยว เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน จังหวัดยะลาและนราธิวาสมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และศิลปะที่น่าสนใจ
4. อุตสาหกรรมเล็ก ๆ ในพื้นที่ชายแดนมีการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมอาหารเบ็ดเตล็ด
5. การพัฒนาแนวคิดใหม่ บางพื้นที่ในพื้นที่ชายแดนมีการพัฒนาแนวคิดใหม่เพื่อสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการนำเสนอบริการที่มีความเป็นเอกลักษณ์

กลไกการผลิตทุเรียน ในปี พ.ศ. 2564 จังหวัดยะลา มีเนื้อที่ยืนต้น 82,817 ไร่ เนื้อที่ให้ผล  56,209 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,015  กก./ไร่ผล ผลิตรวม 57,042 ตัน และมีการบริหารจัดการทุเรียน ผลผลิตทุเรียนกระจายออกเป็น 3 ช่องทาง ได้แก่ การกระจายผลผลิตสดภายในประเทศ ร้อยละ 38.57 แปรรูป ร้อยละ 15.85 และส่งออก ร้อยละ 45.58 ซึ่งจากจำนวนแปลงทุเรียนทั้งหมด พบว่ามีแปลงทุเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 2,214 แปลง พื้นที่ 10,519.70 ไร่ (ภาพที่ 3) และทางจังหวัดยะลา ได้มีการวางแผน BCG Value Chain สินค้าทุเรียนของจังหวัด โดยมีเป้าหมายให้ผลผลิตทุเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน           มีช่องทางการตลาด เพื่อส่งผลให้ GPP ภาคเกษตรเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น การทำการเกษตรยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2564 จังหวัดยะลา มีเนื้อที่ยืนต้น 82,817 ไร่ เนื้อที่ให้ผล  56,209 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,015  กก./ไร่ผล ผลิตรวม 57,042 ตัน และมีการบริหารจัดการทุเรียน ผลผลิตทุเรียนกระจายออกเป็น 3 ช่องทาง ได้แก่ การกระจายผลผลิตสดภายในประเทศ ร้อยละ 38.57 แปรรูป ร้อยละ 15.85 และส่งออก ร้อยละ 45.58 ซึ่งจากจำนวนแปลงทุเรียนทั้งหมด พบว่ามีแปลงทุเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 2,214 แปลง พื้นที่ 10,519.70 ไร่ (ภาพที่ 3) และทางจังหวัดยะลา ได้มีการวางแผน BCG Value Chain สินค้าทุเรียนของจังหวัด

กลไกการผลิตผักน้ำเบตงและผักตามความต้องการ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เป็นอำเภอที่มีศักยภาพส่งเสริมปลูกพืชผัก เนื่องจากของอำเภอ และจังหวัดมีนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชหมุนเวียนระยะสั้น จำพวกผักสวนครัวที่สามารถเก็บผลผลิตได้ภายใน 3 – 5เดือน เพื่อให้มีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องมากกว่าเพื่อลดรายจ่าย จากการสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักในพื้นที่ พบว่า ผลิตผักไม่ทันต้องความการของผู้บริโภคในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการส่งออกผักไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียอีกด้วย ซึ่งข้อดีของอำเภอสุไหงโก-ลก และจังหวัดนราธิวาส คือ มีด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก เป็นจุดเด่นและข้อได้เปรียบของการค้าชายแดนในการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของผ่านด่านชายแดน 3 แห่ง ได้แก่ ด่านชายแดนสุไหงโก-ลกด่านชายแดนตากใบ และด่านชายแดนบูเก๊ะตา ในปี 2564 มีมูลค่ารวม 2,992.33 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.5 ของมูลค่าการค้าชายแดนไทย–มาเลเซีย โดยเป็นมูลค่าการส่งออก 1,542.92 ล้านบาท และมูลค่านำเข้า 1,450.38 ล้านบาท

กรอบและกลไกการพัฒนาพื้นที่ด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศสำหรับพัฒนาเศรษฐกิจร่วมชายแดน

แผนและยุทธศาสตร์ชายแดนในการยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่ โดยประกอบด้วย 5 กลไกหลัก ดังนี้

กลไกการบริหารจัดการในระดับพื้นที่แบบบูรณาการ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการร่วมชายแดน ประกอบด้วยหน่วยงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ ประสานความร่วมมือ รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายธุรกิจและเกษตรกร ยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการ สร้างช่องทางตลาดและการส่งออก เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้ชุมชน และนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจร่วมชายแดนอย่างยั่งยืน

กลไกการสร้างเครือข่ายเกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่ชายแดนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันตั้งแต่การวางแผนการผลิต จนถึงการส่งออก และสามารถเชื่อมโยงสู่ห่วงโซ่อุปทานและตลาดทั้งในและต่างประเทศ
1) กลไกการพัฒนาศักยภาพและยกระดับห่วงโซ่คุณค่า โดยการสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม รวมถึงการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพของสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานสากล สามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ
2) กลไกการส่งเสริมการตลาดและการเชื่อมโยงเครือข่าย เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยมีการยกระดับคุณภาพและบรรจุภัณฑ์ จัดตั้งตลาดกลางกระจายสินค้า เชื่อมโยงกับผู้จัดจำหน่ายและผู้ค้าทั้งในและต่างประเทศ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการส่งออก อำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร ลดอุปสรรคต่างๆ รวมถึงการทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เน้นหนักการเจาะตลาดในประเทศมาเลเซีย
3) กลไกการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นกลยุทธ์สร้างรายได้และสร้างความยั่งยืนให้ชุมชน โดยมีรูปแบบการดำเนินงานที่หลากหลาย อาทิ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับแหล่งผลิตชุมชน การนำผลิตภัณฑ์ชุมชนมาจำหน่ายในแหล่งท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมแสดงสินค้าและวัฒนธรรม และการใช้ช่องทางออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์และจำหน่ายสินค้า
4) กลไกการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นกลยุทธ์สร้างรายได้และสร้างความยั่งยืนให้ชุมชน โดยมีรูปแบบการดำเนินงานที่หลากหลาย อาทิ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับแหล่งผลิตชุมชน การนำผลิตภัณฑ์ชุมชนมาจำหน่ายในแหล่งท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมแสดงสินค้าและวัฒนธรรม และการใช้ช่องทางออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์และจำหน่ายสินค้า
5) กลไกการบริหารจัดการในระดับพื้นที่แบบบูรณาการ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการร่วมชายแดน ประกอบด้วยหน่วยงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ ประสานความร่วมมือ รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายธุรกิจและเกษตรกร ยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการ สร้างช่องทางตลาดและการส่งออก เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้ชุมชน และนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจร่วมชายแดนอย่างยั่งยืน

6. ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อผลักดันตัวแบบการพัฒนา หรือตัวแบบการประกอบการ
ข้อเสนอเชิงนโยบาย “การยกระดับธุรกิจร่วมชายแดน” ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและผู้ประกอบการการยกระดับห่วงโซ่มูลค่าและสินค้าข้ามแดน การส่งเสริมความร่วมมือ และการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อผลักดันให้เกิดตัวแบบการพัฒนาหรือตัวแบบการประกอบการ  และการระบุถึงบทบาทของเกษตรกรในฐานะผู้ผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนการผลิต จัดหาปัจจัยการผลิต และมีการจัดการคุณภาพ ภาครัฐและเอกชนมีบทบาทในการสนับสนุนเกษตรกร

ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
https://science.yru.ac.th/biology2016/

Share :