การยกระดับเศรษฐกิจร่วมไทย – ลาว ผ่านการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าโคเนื้อคุณภาพ เพื่อความยั่งยืนของพื้นที่เมืองชายแดนพะเยา เชียงราย

[ งานวิจัย Border City เมืองชายแดน ปี2566-67] 

การยกระดับเศรษฐกิจร่วมไทย – ลาว ผ่านการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าโคเนื้อคุณภาพ เพื่อความยั่งยืนของพื้นที่เมืองชายแดนพะเยา เชียงราย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ. สมชาติ ธนะ สังกัด มหาวิทยาลัยพะเยา

แผนงานชุดโครงการ การยกระดับเศรษฐกิจร่วมไทย – ลาว ผ่านการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าโคเนื้อคุณภาพ เพื่อความยั่งยืนของพื้นที่แนวชายแดนพะเยา เชียงราย ประกอบด้วยโครงการย่อยจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการที่ 1 เรื่อง การสร้างกลไกและพัฒนานักจัดการระดับพื้นที่ เครือข่าย คุณไทฟาร์ม  และโครงการที่ 2 เรื่อง การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าโคเนื้อ ในระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายคุณไทฟาร์ม สู่การพัฒนาเชื่อมโยงเศรษฐกิจร่วมกัน ไทย-ลาว เป็นงานวิจัยเพื่อยกระดับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดพะเยา เชียงราย และแขวงบ่อแก้ว หลวงน้ำทา ไชยบุรี และอุดมชัย สปป.ลาว ในด้านร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งต้นทางการผลิต การแปรรูปเพิ่มมูลค่า จนถึงขบวนการทางการตลาดจีนร่วมกัน ซึ่งผลการดำเนินงานวิจัยมีดังนี้

1.การพัฒนานักจัดการระดับพื้นที่ในเครือข่ายคุณไทฟาร์ม สู่การเป็นนักจัดการห่วงโซ่อุปทาน/ห่วงโซ่คุณค่า ที่มีการจัดสรร ประสานผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม

โครงการได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนานักจัดการระดับพื้นที่ในเครือข่ายคุณไทฟาร์ม สู่การเป็นนักจัดการห่วงโซ่อุปทาน/ห่วงโซ่คุณค่า ที่มีการจัดสรร ประสานผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม แบ่งเป็น 2 หลักสูตรย่อย  1) หลักสูตรการพัฒนานักจัดการระดับพื้นที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 20 คน 2) หลักสูตรการเป็นนักจัดการห่วงโซ่อุปทาน/ห่วงโซ่คุณค่า ที่มีการจัดสรร ประสานผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม  มีผู้เข้าร่วมจำนวน 10 คน มีผู้ผ่านการประเมินออกมาเป็นนักจัดการห่วงโซ่คุณค่าสินค้าโคเนื้อคุณภาพ ทั้งหมด 5 คน เพื่อเป็นนักจัดการห่วงโซ่คุณค่าสินค้าโคเนื้อคุณภาพ

2.การพัฒนาเครือข่ายการค้าโคเนื้อไทย-ลาว และสร้างกลไกความร่วมมือ ระดับพื้นที่จังหวัดพะเยา เชียงรายประเทศไทย กับ พื้นที่ใน 4 แขวงในพื้นที่ลาวตอนบน คือ แขวงบ่อแก้ว หลวงน้ำทา ไชยบุรี และ อุดมไชย สปป. ลาวและเครือข่ายการค้าโคเนื้อไทย-ลาว ในการยกระดับห่วงโซ่คุณค่าและพัฒนาเศรษฐกิจร่วมแนวชายแดน

การสร้างกลไกความร่วมมือและพัฒนานักจัดการระดับพื้นที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อระหว่างผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดพะเยา เชียงราย ประเทศไทย และ สปป.ลาวตอนบน ประกอบไปด้วย 1) การสร้างการมีส่วนร่วมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่เป้าหมาย การสร้างความรู้จัก ความคุ้นเคย และสร้างความรู้กับประธานกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ  2) การดำเนินงานเพื่อให้สามารถผลิตโคเนื้อไปสู่ต่างประเทศได้  โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หารือวางแผนแนวทางการดำเนินการร่วมกับชุมชนจัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างบริษัท คุณไทฟาร์ม จำกัดและคู่ค้าต่างประเทศ หารือกับประเทศคู่ค้าโคเนื้อ สปป.ลาว และการประชุมสัมมนา เชื่อมสานสัมพันธ์การผลิต และการค้าวัวเนื้อ ไทย – ลาว – จีน 3) การสร้างความร่วมมือระหว่างไทย – ลาวเชิงพื้นที่ โดยใช้กระบวนการประชุมแนวการยกระดับเศรษฐกิจร่วมไทย-ลาวผ่านการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าโคเนื้อคุณภาพเพื่อความยั่งยืนของพื้นที่เมืองชายแดนพะเยา เชียงราย ภายใต้หัวข้อ “กิจกรรมร่วมประชุมเสวนา เชื่อมสานสัมพันธ์การผลิต การค้าโคเนื้อ ไทย ลาว จีน”  

ข้อสังเกตอนาคตการส่งออกโคเนื้อของไทย มีดังนี้

1) การสร้างความร่วมมือระหว่างไทย กับ สปป. ลาวในการพัฒนาร่วมกันในการเลี้ยงโคเนื้อ ยังมีความท้าทายในเรื่องการดำเนินการให้ผ่านมาตรฐานของจีน ที่บริษัทและคนจีนเป็นผู้ควบคุมและจัดการคอกกักสัตว์ที่เมืองสิงห์ แขวงหลวงน้ำทาเองแต่เพียงฝ่ายเดียว

2) เวลาและขั้นตอนการส่งออกโคเนื้อจากไทยตรงไปจีนสำเร็จได้ต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้าง จะใช้เวลาทั้งหมดกี่ปีที่จะดำเนินการได้ ขณะที่ในการส่งออกจากลาวไปจีน ขณะที่จีน และสปป.ลาว ใช้เวลา 3-7 ปี ดำเนินการสร้างพื้นที่กักกันสัตว์ในเมืองสิงห์ภายใต้โครงการ BRI ของจีน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารไม่ได้มีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ WOAH ใช้เวลาตั้งแต่ปี 2559 ที่ลาวประกาศความประสงค์จะค้าโคเนื้อส่งออกจีนอย่างถูกกฎหมาย และจีนได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาดูพื้นที่วางขั้นตอนการสร้างพื้นที่กักสัตว์รวมแล้วใช้เวลากว่า 3 ปี ท่ามกลางการระบาดของโรคทั้งกับคนและสัตว์ จึงสามารถเปิดดำเนินการส่งออกได้ แต่ชะงักลง จนกระทั่งปี 2566 จึงได้เริ่มส่งอีกครั้ง ซึ่งผ่านมา 7 ปี แต่ยังไม่การส่งต่อเนื่องได้ ที่ยังมีการตกลงเพื่อให้เกิดการค้าขายได้จริงจากนี้ไป และมีเงื่อนไขอื่นหรือไม่ เป็นที่น่าสังเกตว่าจีนจะมาดำเนินการสร้างพื้นที่กักกันเองเหมือนในลาว และเมียนมา หรือไทยจะดำเนินการเอง หรือเป็นรูปแบบการร่วมทุนและจัดการร่วมกัน

3. การสร้างกลไกความร่วมมือของเครือข่ายการค้าโคเนื้อไทย-ลาว ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสถาบันการศึกษา ภาครัฐ เอกชน และ เกษตรกรใน และนำสู่การสร้างยุทศาสตร์และแผนการทำงานร่วมกัน

โครงการได้สร้างเครือข่ายคุณไทฟาร์ม สู่การพัฒนาเชื่อมโยงเศรษฐกิจร่วมกัน ไทย-ลาว โดยมีเกษตรกรแกนนำ จำนวน 5 ราย ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการเชิงลึกเพื่อสร้างทักษะแก่แกนนำเกษตรกร ว่าการเป็นนักจัดการห่วงโซ่คุณค่า สำหรับแกนนำเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อเครือข่ายคุณไทฟาร์มในพื้นที่พะเยา เชียงราย ของสปป.ลาว จำนวน 4 แขวง คือ บ่อแก้ว หลวงน้ำทา ไชยบุรี และ อุดมไชย ให้สามารถผลิตโคเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ มาตรฐาน  นอกจากนี้ มีเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการร่วม ระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และ เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เกิดการต่อยอดไปสู่การพัฒนาโครงการวิจัยใหม่ร่วมกันตามความถนัดของผู้ร่วมวิจัย โดยฝั่งไทย คือ มหาวิทยาลัยพะเยา บริษัทคุณไทฟาร์ม และกรมปศุสัตว์ จำนวน 3 หน่วยงาน  เครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการร่วมระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และ เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เกิดการต่อยอดไปสู่การพัฒนาโครงการวิจัยใหม่ร่วมกันตามความถนัดของผู้ร่วมวิจัย โดยฝั่งลาว คือ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว และ กรมเลี้ยงสัตว์ และประมง สปป.ลาว จำนวน 2 หน่วยงาน และบริษัทคุณไทฟาร์ม และ กรมปศุสัตว์ ร่วมสนับสนุนนักวิชาการ สถานที่ และเครื่องมือ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ผู้ใช้ประโยชน์ จำนวน 2 หน่วยงาน

3.1 แบบจำลองโซ่อุปทานโคเนื้อกรณีศึกษาห่วงโซ่คุณค่าการผลิตแปรรูปการส่งออกโคเนื้อ ในเครือข่ายคุณไทฟาร์ม

3.2 เส้นทางโลจิสติกส์ของการส่งออกโคเนื้อจากพื้นที่ศึกษาไปยัง สสป.ลาว และ ประเทศจีนการประเมินสถานการณ์และข้อมูลปัจจุบันด้วย SCOR Model

3.3 แนวทางการพัฒนาการจัดการโซ่อุปทานโคเนื้อ จากการประเมินด้วย SCOR Model

3.4 เส้นทางขนส่งของการส่งออกโคเนื้อ
– เส้นทาง เชียงของ-ห้วยทราย(ลาว)-หลวงน้ำทา(ลาว)-ด่านเมืองสิงห์(ลาว)-คอกกักเหมิงหม่าน(จีน)
– เส้นทาง เชียงของ-ห้วยทราย(ลาว)-หลวงน้ำทา(ลาว)-ด่านเมืองสิงห์(ลาว)-พงสารี(ลาว)-คอกกักที่จีนโดยทั้งสองเส้นทางผ่านสิบสองปันนา นอกจากนี้ยังมีการขนส่งโคเนื้อไปประเทศมาเลเซีย เป็นอีกหนึ่งช่องทางเพิ่มเติม 

โครงการย่อยที่ 1

เรื่อง การสร้างกลไกและพัฒนานักจัดการระดับพื้นที่ เครือข่าย คุณไทฟาร์ม

1. พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงโคเนื้อ ของเกษตรกร/กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายคุณไทฟาร์ม ในพื้นที่จังหวัดพะเยา เชียงราย และในพื้นที่ สปป.ลาวตอนบน คือ แขวงบ่อแก้ว หลวงน้ำทา ไชยบุรี และ อุดมไชย สู่การเป็นนักจัดการโคเนื้อในระดับพื้นที่ แบ่งเป็น 2 หลักสูตรย่อย ได้แก่

1.1 หลักสูตรการพัฒนานักจัดการระดับพื้นที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ จำนวน 20 คน โดยมีการกำหนดคุณลักษณะของผู้มาเข้าศึกษา   กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร  กำหนดการกำหนดเนื้อหาสาระและโครงสร้างหลักสูตรที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้  (จัดทำแผนการดำเนินงาน  การรวบรวมองค์ความรู้ และ การแก้ปัญหากับอุปสรรคที่พบเจอ  กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคัดเลือกผู้เรียน  ออกติดตาม ประเมินผล และจัดทำเอกสารการวิจัยและสื่อวีดีทัศน์)

เนื้อหาของหลักสูตรฝึกที่จำเป็นสำหรับใช้อบรมการเลี้ยงโคเนื้อครบวงจร ได้แก่ รูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อในประเทศไทย อาหารและการจัดการอาหารสำหรับโคเนื้อ การเลี้ยงโคต้นน้ำ การเลี้ยงโคขุนกลางน้ำ อายุ 13 – 24 เดือน (โคขุนหนุ่ม เนื้อนุ่ม) การเลี้ยงโคขุนปลายน้ำ อายุ 24 -36 เดือน (โคขุนไขมันแทรก) การจัดการด้านสุขภาพของโคเนื้อ มาตรฐานฟาร์มโคเนื้อ มาตรการการกำจัดของเสียในฟาร์มโคเนื้อ และรูปแบบการตลาดตลอดห่วงโซโคเนื้อในปัจจุบันและทิศทางการตลาดในอนาคต กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการเลี้ยงโคเนื้อ สำหรับการพัฒนานักจัดการระดับพื้นที่ในเครือข่ายคุณไทฟาร์ม  โดยประสานงานติดต่อวิทยากรภายในและนอกสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงโค และกิจกรรมอบรมการบรรยายเรื่องการจัดการอาหาร การปรับปรุงพันธุ์ของโคเนื้อ และการควบคุมป้องกันโรค ให้กับผู้เลี้ยงโคเนื้อ บริษัทดวงเจริญอุตสาหกรรม-เกษตรอินทรีย์ นำเข้า-ส่งออก จำกัด แขวงบ่อแก้ว และฟาร์มเอกชนผู้เลี้ยงโคเนื้อในแขวงไชยบุรีและอุดมไชย

1.2 หลักสูตรการเป็นนักจัดการห่วงโซ่อุปทาน/ห่วงโซ่คุณค่า ที่มีการจัดสรร ประสานผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม  หลักสูตรมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเตรียมความพร้อมให้กับบุคคลากรในเครือข่ายโซ่อุปทานโคเนื้อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับการจัดการแบบบูรณาการ ปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับการแข่งขัน เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า เพื่อยกระดับไปสู่การสร้างกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรโคเนื้อ โดยใช้ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม จำนวน 2 วัน เพื่อสร้างนักจัดการห่วงโซ่อุปทาน/ห่วงโซ่คุณค่า อย่างน้อย 5 คน 

เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วย ความเข้าใจพื้นฐานของการจัดการโซ่อุปทาน แนวคิดการจัดการแบบลีน  การประเมินแผนและการรวบรวมข้อมูลด้านอุปสงค์-อุปทาน Demand-Supply Planning การจัดการควบคุมการผลิตและระบุความเสี่ยง และWorkshop แบ่งกลุ่มจำลองการแก้ปัญหาร่วม จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ชายแดนพะเยาเชียงราย มีผู้เข้าร่วมจำนวน 10 คน พบว่ามีผู้ผ่านการประเมินออกมาเป็นนักจัดการห่วงโซ่คุณค่าสินค้าโคเนื้อคุณภาพ ทั้งหมด 5 คน เพื่อเป็นนักจัดการห่วงโซ่คุณค่าสินค้าโคเนื้อคุณภาพ 

2. สร้างกลไกสานความร่วมมือเครือข่ายเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน เครือข่ายคุณไทฟาร์มในพื้นที่จังหวัดพะเยา เชียงราย และในพื้นที่ สปป.ลาวตอนบน คือ แขวงบ่อแก้ว หลวงน้ำทา ไชยบุรี และ อุดมไชยซึ่งโครงการได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเอกสาร MOU ระหว่างบริษัทคุณไทฟาร์ม และ ผู้เลี้ยงโคเนื้อจาก สปป.ลาว ทำให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นต่อการเลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพ

โครงการย่อยที่ 2

เรื่อง การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าโคเนื้อ ในระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายคุณไทฟาร์ม สู่การพัฒนาเชื่อมโยงเศรษฐกิจร่วมกัน ไทย-ลาว

2.1 พัฒนานักจัดการระดับพื้นที่ สู่การเป็นนักจัดการห่วงโซ่คุณค่าสินค้าโคเนื้อคุณภาพ ด้วยการเสนอแนะหลักสูตรการพัฒนานักจัดการระดับพื้นที่ เพื่อนำสู่การเป็นนักจัดการห่วงโซ่คุณค่าสินค้าโคเนื้อคุณภาพ พัฒนาเตรียมความพร้อมให้กับบุคคลากรในเครือข่ายโซ่อุปทานโคเนื้อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับการจัดการแบบบูรณาการ ปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับการแข่งขันและความต้องการของลูกค้า

2.2 ยกระดับห่วงโซ่คุณค่าสินค้าโคเนื้อคุณภาพ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจร่วมชายแดนไทย-ลาว คณะวิจัยเสนอแนะการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการ การซื้อขายและการส่งออก รวมถึงการสนับสนุนให้เกษตรกรนำเครื่องทุ่นแรงมาช่วยในการดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพ นอกจากนั้นคณะวิจัยพบว่าประเด็นสำคัญเร่งด่วนด้านอาหาร จึงเสนอแนวทางการจัดการปัญหาด้านอาหารเลี้ยงโคขุนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและเศรษฐกิจถดถอยก่อให้เกิดปัญหาการจัดหาอาหารสำหรับเลี้ยงโคขุน

2.3 พัฒนากรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจ อันจะนำไปสู่แผนยุทธศาสตร์โคเนื้อ พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ พะเยา เชียงราย และในพื้นที่ สปป. ลาวตอนบน คือ แขวงบ่อแก้วหลวงน้ำทา ไชยบุรี และ อุดมไชย  คณะวิจัยดำเนินการจัดการประชุมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ เพื่อค้นหาทิศทางการสนับสนุนให้เกิดการสร้างธุรกิจร่วมกันของพื้นที่ชายแดน พร้อมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชนเป้าหมายอย่างเหมาะสม ทั้งการประเมินผลการดำเนินงานระบบในปัจจุบัน การค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อกำหนดแผนงานการดำเนินงานอย่างยั่งยืน รวมถึงการจัดตั้งแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับระเบียบ กฎหมาย และนิติกรรมต่าง ๆ ที่ทั้งสองประเทศสามารถตกลงร่วมกันอย่างเอกภาพ

ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา 
https://www.facebook.com/agriupnews

Share :