[ งานวิจัย Border City เมืองชายแดน ปี2566-67]
การยกระดับความสามารถในการแข่งขันการผลิตเนื้อโคและโคเนื้อ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในพื้นที่เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา จ.สระแก้ว โดย ผศ.ญาณิน พัดโสภาม, คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
1. สภาพปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการส่งออกผักและผลไม้ กรณีศึกษา การค้าชายแดน ด่านสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
1.บริบทของการเลี้ยงโคในจังหวัดสระแก้ว รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเพื่อทำการประเมินว่าหากต้องการยกระดับเศรษฐกิจของจังหวัดสระแก้ว โดยส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อการส่งออกโดยมีปลายทางไปยังประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม จำเป็นต้องแก้ไขและพัฒนาในด้านใดบ้าง ซึ่งจากการศึกษา พบว่าในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว มีฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อ ทั้งหมด 7,871 ราย เมื่อพิจารณาขนาดของการเลี้ยงโคเนื้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีการเลี้ยงโคเนื้อระหว่าง 1-20 ตัว จำนวน 6,971 ราย จำนวนการเลี้ยงระหว่าง 21-100 ตัว มีจำนวน 889 ราย จำนวนการเลี้ยงระหว่าง 101-200 ตัว มีจำนวน 8 ราย และจำนวนการเลี้ยงมากกว่า 200 ตัว มีเพียง 3 ราย จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดสระแก้วส่วนใหญ่เป็นผู้เลี้ยงรายย่อย คือ มีการเลี้ยงไม่เกิน 20 ตัว
2. จากการศึกษาโซ่อุปทานการส่งออกโคเนื้อและเนื้อโคจากจังหวัดสระแก้วไปยังประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม พบว่า เนื้อโคซึ่งมีที่มาจากจังหวัดสระแก้ว และบริโภคในประเทศกัมพูชาเป็นเนื้อโคที่ถูกนำไปขายและบริโภคในตลาดเนื้อร้อนหรือตลาดเนื้ออุ่นในพนมเปญเท่านั้น ส่วนประเทศเวียดนาม โคเนื้อจากสระแก้วถูกนำไปขายและบริโภคทั้งในตลาเนื้อร้อนและตลาดเนื้อเย็น ทั้งในจังหวัดลองอันและโฮจิมินห์ โซ่อุปทานโคเนื้อในจังหวัดสระแก้ว สามารถจำแนกผู้เกี่ยวข้องและกิจกรรมออกได้เป็น 3 ส่วน คือ เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในการผลิต ภาครัฐ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรมในส่วนของการค้าต่างประเทศ โดยในแต่ละส่วนมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาโซ่อุปทานโคเนื้อชายแดนของจังหวัดสระแก้ว
3. การพัฒนาศักยภาพผู้เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่เมืองชายแดนให้มีความสามารถในการแข่งขันและสอดคล้องกับโอกาสทางธุรกิจ เมื่อพิจารณาถึงผู้เกี่ยวข้องในส่วนของ Inbound Logistics ที่ประกอบด้วย ผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ ผู้จำหน่ายยาหรือวัคซีน และผู้ขายน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ หรือกล่าวได้ว่าเป็นผู้จัดหาปัจจัยการผลิตให้กับกระบวนการผลิตโคเนื้อในพื้นที่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในขั้นตอนนี้ประเด็นที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข คือ การจัดหาพืชอาหารสัตว์ ผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เลี้ยงโคเนื้อด้วย และบางช่วงเวลายังใช้พื้นที่ปลูกพืชอาหารนั้นไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่สร้างรายได้ได้เร็วกว่า ส่งผลให้ปริมาณของพืชอาหารที่จะให้กับโคเนื้อลดลง
4. พัฒนากลไกความร่วมมือ (Collaboration) ชายแดนไทย-กัมพูชา ในการผลิตโคเนื้อและเนื้อโคการพัฒนาความร่วมมือร่วมมืองชายแดน เพื่อการผลิตและส่งออกโคเนื้อและเนื้อโคจากจ.สระแก้วไปกัมพูชาและเวียดนามต้องอาศัยการพัฒนากลยุทธ์หลายอย่าง เพื่อให้เกิดความร่วมมือทั้งภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และความร่วมมือไปยังประเทศที่ 3 โดยมีรายละเอียดกลยุทธ์การพัฒนาความร่วมมือ(Collaboration) ดังนี้
1) Improve Process, Product or Volume คือ กลยุทธ์แห่งการปรับปรุงในดีขึ้น เช่นการนำเทคโนโลยีมาใช้ หรือปรับปรุงการจัดการให้ดีขึ้น เป็นต้น ประกอบไปด้วย
1.1) Process improvement คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการให้ดีขึ้น ลดความสูญเปล่า เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการ
1.2) Product improvement คือ กระบวนการเพิ่มมูลค่าของสินค้า
1.3) Volume extension คือ การเพิ่มจำนวนของสินค้า หรือวัตถุดิบที่เกี่บยวข้องกับการผลิต
2) Change and/or Add Functions คือ การรับบทบาทใหม่ของผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่า
3) Improve Value Chain Coordination คือ กลยุทธ์การเชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวในห่วงโซ่คุณค่า เพื่อการประสานงานที่ดีขึ้น
โครงการย่อยที่ 1
การศึกษาโซ่อุปทานการผลิตเนื้อโคและโคเนื้อ เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา จ.สระแก้ว
1. ผลการศึกษาตลาดการบริโภคโคเนื้อและเนื้อโคใน กัมพูชา และเวียดนามปัจจุบันโคเนื้อมีชีวิตจากประเทศไทย ส่งไปขายประเทศปลายทางที่อยู่ในเส้นทาง (Southern Corridor) ได้แก่ ประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม โดยในประเทศกัมพูชาเนื้อโคที่ถูกชำแหละแล้วจะถูกขายอยู่ในตลาดเนื้อร้อน และในประเทศเวียดนามเนื้อโคที่ชำแหละแล้วจะถูกขายในตลาดเนื้อเย็นและตลาดเนื้อร้อน
2. วิเคราะห์โซ่อุปทานการค้าข้ามแดนและผ่านแดนตามเส้นทางการเคลื่อนย้ายโคเนื้อและเนื้อ จ.สระแก้ว กับ ประเทศเวียดนาม โดยจำแนกตามกลุ่มของตลาดการบริโภคเนื้อโค พบว่า เส้นทางการขนส่ง สระแก้ว (ต้นน้ำ) – พนมเปญ (กลางน้ำ และปลายน้ำ) โดยในจังหวัดสระแก้วเป็นแหล่งรวบรวมโคที่จะส่งต่อไปยังประเทศกัมพูชา โคที่รวมรวมมีทั้งโคที่เลี้ยงและขุนในจ.สระแก้ว วัวโครงที่ซื้อมาจากจังหวัดอื่นเพื่อมาขุนในจ.สระแก้ว และวัวขุนแล้วจากจังหวัดอื่น เพื่อให้ได้จำนวนตามที่ลูกค้าต้องการ
โครงการวิจัยที่ 1 จึงเลือกที่เลือกกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำที่สุดในห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่า คือกลุ่มผู้เลี้ยงวัวรุ่นหรือวัวโครง เป็นกลุ่มที่ชุดโครงการวิจัยมุ่งเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างรายได้เพิ่ม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน โดยคณะผู้วิจัยได้จำลองสถานการณ์ (Scenario) เป็นโมเดลการเลี้ยงโคเนื้อรูปแบบใหม่ โดยส่งเสริมเป็นการเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพ จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวรุ่นได้เพิ่มขึ้น จากการเลี้ยงแบบเดิมมีรายได้เดือนละ 329 บาท/ตัว/เดือน เป็น 798 บาท/ตัว/เดือน หรือ เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวรุ่นจะมีรายได้เพิ่มเดือนละ 469 บาท/ตัว/เดือน
โครงการย่อยที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหาในโซ่อุปทานการผลิตโคเนื้อและเนื้อโคอย่างมีส่วนร่วม ในมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
1. การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในโซ่อุปทานการผลิตโคเนื้อและเนื้อโคครอบคลุมมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เนื้อโคและโคเนื้อของจังหวัดสระแก้ว ซึ่งคณะนักวิจัยใช้เป็นแกนหลักในการทำความเข้าใจ และพัฒนาแนวทางการแก้ไข ปรับปรุง และยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโซ่อุทานการผลิตเนื้อโคและโคเนื้อในพื้นที่ศึกษา พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ของกิจกรรมในโซ่อุปทานดังกล่าว คือ การบริหารจัดการปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นผลสะท้อนรวมกันระหว่างทักษะและความชำนาญของผู้เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานรวมทั้งทรัพยากรที่จำเป็นต้องลงทุนในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เงินทุน หรือที่ดิน (เพื่อเป็นแปลงปลูกพืชอาหาร และการสร้างคอกที่ถูกสุขลักษณะและมีการจัดการที่ดี)
โครงการย่อยที่ 3 การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายอย่างมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับมูลค่าเศรษฐกิจร่วมในธุรกิจการผลิตเนื้อโคอย่างยั่งยืน เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา
1. ศึกษาแนวทางและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เหมาะสมในการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันและก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจในธุรกิจการผลิตเนื้อโคในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาดำเนินการวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) มีบทบาทในโซ่อุปทานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ รวม 17 ตัวแทน สรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของกิจกรรมและการดำเนินงานในโซ่อุปทานโคเนื้อในพื้นที่ชายแดนของจังหวัดสระแก้ว มาวิเคราะห์เพื่อจำแนกประเด็นตามบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในแต่ละฝ่าย สามารถสรุปได้ดังนี้
1) เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในการผลิต เนื่องจากเกษตรกรแต่ละรายมีความแตกต่างในด้านของความเชี่ยวชาญ ความพร้อม และต้นทุน ดังนั้นจึงควรกำหนดการให้ความช่วยเหลือตามบริบทและศักยภาพในการพัฒนา เช่น ผู้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ผู้ปลูกหญ้าอาหารสัตว์ ผู้ขุนโค และให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
2) ภาครัฐ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีภารกิจหน้าที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆในโซ่อุปทานโคเนื้อ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการช่วยเหลือ หรือคัดกรองผู้ได้รับการช่วยเหลือ/พัฒนาให้เหมาะสมตามศักยภาพและต้นทุนของเกษตรกร นอกจากนั้นภาครัฐยังจำเป็นที่จะต้องประเมินความคุ้มค่า ความครบถ้วน และความเหมาะสมของการให้ความช่วยเหลือ เช่น การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (feasibility study) ทั้งในด้านบริบทพื้นที่ ความเชี่ยวชาญของเกษตรกรผู้เข้าร่วม และความต้องการและการเข้าถึงตลาด เป็นต้น
3) การค้าต่างประเทศ ในด้านการค้าต่างประเทศ ตามบริบทของพื้นที่ชายแดนซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน จำเป็นที่สินค้าหรือบริการที่นำเข้า-ส่งออก ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือเป็นไปตามข้อตกลงที่ทั้งสองประเทศได้ให้ไว้ต่อกัน ซึ่งหากมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอาจมีการเจรจาเพื่อลดอุปสรรคด้านการค้าและก่อให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์จากการค้าระหว่างกัน
2. แนวทางการมีส่วนร่วมและแบ่งหน้าที่อย่างเหมาะสมในแต่ละขั้นตอนของโซ่อุปทานธุรกิจโคเนื้อระหว่างไทย-กัมพูชา สามารถจำแนกได้เป็น 3 ขั้นตอนตามโซ่อุปทาน ประกอบด้วย
1) ต้นน้ำ ประกอบด้วย การพัฒนาสายพันธ์วัวลูกผสมที่เหมาะสมกับจังหวัดสระแก้ว การส่งเสริมการปลูกหญ้าอาหารสัตว์ในพื้นที่ที่เหมาะสม จัดตั้งศูนย์อาหารสัตว์ (Feed center) เพื่อให้การสนับสนุนผู้เลี้ยงโคในพื้นที่ และจัดทำแผนที่พืชอาหาร (Feed map) และดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรคติดต่อปศุสัตว์
2) กลางน้ำ ประกอบด้วยจัดให้มีแหล่งซื้อขายโคที่มีมาตรฐาน ดำเนินการเชิงรุกเพื่อสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์โคเนื้อหรือเนื้อโคของจังหวัดสระแก้ว และจัดให้มีโรงเชือดที่ได้รับการรับรอง HALAL และ Good Manufacturing Practices (GMP) 3) ปลายน้ำ ประกอบด้วย การเจรจาข้อเพิ่มโควตาการส่งออก หรือสร้างข้อตกลงความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งออกเนื้อโคและโคเนื้อระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา การส่งเสริมการตลาดโคเนื้อและเนื้อโคทั้งในและต่างประเทศ และสร้างและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากโคเนื้อของจังหวัดสระแก้วเพื่อให้เกิดการยอมรับของผู้บริโภค
ติดต่อผู้ดำเนินโครงการ
คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
https://www.facebook.com/scisosakaeo/