[ งานวิจัย Border City เมืองชายแดน ปี2566-67]
การพัฒนาผลิตภัณฑ์และห่วงโซ่อุปทานของกาแฟท้องถิ่นเมืองปากซองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเมืองชายแดนไทย-ลาว โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัตน์ชฎาพร ศรีสุระ และคณะ สังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
การพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตให้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากกาแฟในพื้นที่เมืองชายแดนไทย-ลาว
การพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตกาแฟ ให้มีความสามารถในการแข่งขันและสอดคล้องกับโอกาสทางธุรกิจทั้งในแบบออนไลน์และออฟไลน์ ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ศักยภาพการส่งออกกาแฟของ สปป.ลาว มีการส่งออกกาแฟไปยังตลาดในเอเซียเป็นหลัก และมีมูลค่าการส่งออกโดยรวม 99,881 พันเหรียญสหรัฐ หรือ 99,881,000 USD จากข้อมูลแนวโน้มการกระจายตัวของตลาดสำหรับส่งออกผลิตภัณฑ์กาแฟของ สปป.ลาวไปยัง 14 ประเทศแรกในปี 2565 แสดงให้เห็นว่าประเทศส่วนใหญ่ที่มีการนำเข้ากาแฟ สปป.ลาว อยู่ในแถบเอเชีย ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกถึง 10 ล้านดอลล่าสหรัฐขึ้น ข้อมูลเหล่านี้ทำให้เห็นถึงปริมาณความต้องการ และปริมาณการผลิตกาแฟของ สปป.ลาวที่มีสูงมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้อัตราความเติบโตของการนำเข้ากาแฟจาก สปป.ลาว ของประเทศทั่วโลกเกือบทุกๆพื้นภาคของโลกในปี 2565
จากการศึกษาห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของกาแฟ สปป.ลาว มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง 3 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย (1) กระบวนการก่อนการผลิต (Pre-Production Process) เป็นการดำเนินการก่อนที่จะมีการผลิตซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมวัตถุดิบ หรือผลผลิตกาแฟ และปัจจัยอื่นๆ ทำให้เกิดการส่งออก (2) กระบวนการผลิต (Production) เป็นการดำเนินการเพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตให้กลายเป็นสินค้ากาแฟส่งออก (3) กระบวนการหลังการผลิต (Post-Production Process) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังการผลิต และแปรรูปกาแฟ เพื่อส่งมอบสินค้าไปยังผู้ซื้อ
1.การพัฒนานักจัดการระดับพื้นที่ในเครือข่ายคุณไทกระบวนการเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟที่เมืองปากซองหลังจากเริ่มปลูกได้ประมาณ 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิตที่สามารถเก็บจำหน่ายได้ โดยจะให้ผลผลิตเต็มที่ เมื่ออายุ 6 – 8 ปี หลังออกดอก จนถึงผลสุก ใช้เวลา 7 – 9 เดือน ทั้งขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในเขตพื้นที่เมืองปากซองมีสภาพอากาศหนาวอาจทำให้สุกช้ากว่าพื้นที่อื่น ต้นกาแฟมีอายุยืนนานไปอีกหลายสิบปี หากมีวิธีการดูแลรักษาลำต้นให้แข็งแรงด้วยวิธีการใส่ปุ๋ยและตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอ กาแฟมีการออกดอกปีละ 1 ครั้ง เริ่มเก็บผลสุกในช่วงตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ การเก็บจะเก็บเมล็ดที่สุกมีแดง (ลูกเชอร์รี ) บางสายพันธุ์จะสุกเป็นสีเหลืองหรือเรียกว่า Yellow Catimor แต่ละสายพันธุ์จะมีวิธีการสุกไม่เหมือนกัน บางสายพันธุ์จะสุกพร้อมกันทั้งพวง บางสายพันธุ์จะทยอยสุก การเก็บเกษตรกรจะเลือกเก็บทีละเมล็ดด้วยการใช้มือปลิดทีละเมล็ด ในหนึ่งปีจะสามารถเก็บเมล็ดกาแฟได้ 3-4 รอบ แต่ละรอบจะสุกห่างกับ 2-3 สัปดาห์ การจ้างแรงงานในการเก็บกาแฟ จะใช้แรงงานในชุมชนเข้ามารับจ้างในแต่ละสวน การจ่ายค่าจ้างคิดเป็นกิโลกรัม ประมาณกิโลกรัมละ สองพันกีบ (4 บาท) แต่ถ้าสวนไหนมีเมล็ดกาแฟที่สุกในปริมาณน้อย เจ้าของสวนต้องจ่ายค่าแรงงานในการจ้างเก็บผลผลิตในราคาที่แพงขึ้น เนื่องจากเกษตรกรจะเก็บได้น้อย ไม่คุ้มค่าเดินทางมารับจ้าง เพราะหากในหนึ่งวันเก็บได้ไม่ถึง 50-100 กิโลกรัม ก็ไม่คุ้มค่า ช่วงเวลาการเก็บกาแฟเกษตรจะเก็บในช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ขึ้น เนื่องจากช่วงกลางคืนจะมีน้ำหมอกลงปริมาณมาก ดังนั้นต้องรอให้น้ำหมอกหายไปก่อนจึงจะเริ่มเข้าสวนในช่วงเวลาประมาณแปดนาฬิกาฟาร์ม สู่การเป็นนักจัดการห่วงโซ่อุปทาน/ห่วงโซ่คุณค่า ที่มีการจัดสรร ประสานผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม
การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
เมล็ดกาแฟที่ทำการเก็บเกี่ยวแล้วนำมารวมกันเพื่อทำการผลิตได้ การทำสารกาแฟแบบแห้ง และแบบเปียก วิธีนี้นำผลกาแฟสุกที่เก็บมาทำการตากแดดทิ้งผลให้แห้งสนิท จึงทำการกะเทาะเอาเมล็ดกาแฟออก วิธีนี้ให้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพไม่ดีนัก เหมาะสำหรับกาแฟโรบัสต้า ซึ่งคุณภาพเมล็ดด้อยกว่าอยู่แล้ว ผลกาแฟที่ตากแห้งนี้ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เกิดเชื้อราได้ง่าย เนื่องจากเมล็ดกาแฟจะยังมีน้ำตาลและสารต่างๆ ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีสีดำคล้ำ และทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่ายจึงควรกะเทาะเปลือกออกทันทีที่แห้ง กระบวนการ Process กาแฟแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้
1. Washed Process (Wet Process) คือ กระบวนการแปรรูปแบบปอกเปลือกผลกาแฟเชอร์รี จากนั้นนำไปหมักหรือขัดล้างเมือกออกด้วยเครื่องขัดเมือก ก่อนจะนำเมล็ดกาแฟกะลาเข้าสู่กระบวนการตากแห้ง เกษตรกรจะนำลูกเชอรี่กาแฟไปผ่านกระบวนการล้าง ทำความสะอาด ผู้ผลิตจะคัดแยกลูกเชอรี่กาแฟที่ลอยน้ำออกไป จากนั้นทำการโม่เนื้อเชอรี่ออกไป ล้างเมือก และแช่น้ำทิ้งไว้ 1-2 วัน จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้งจนได้กาแฟกะลา ที่มีความชื้นเหลือ 12-13% หรือทำการสีเอาเปลือกออกและเก็บรักษาในรูปของกาแฟสารพร้อมคั่ว ซึ่งโดยปกติแล้ว Washed Process จะช่วยให้เราได้กาแฟที่สะอาด และมีรสชาติที่นุ่มนวลเจือรสเปรี้ยวเล็กน้อย
2. Honey Process คือ กระบวนการแปรรูปด้วยการปอกเปลือกผลกาแฟเชอร์รี แล้วนำเมล็ดกาแฟที่ยังมีเมือกติดอยู่ไปทำการตากแห้ง กระบวนการนี้จะให้รสชาติที่มีความสมดุลระหว่างความหวานจากรสชาติแท้ ๆ ของเมล็ดกาแฟ และความเปรี้ยวจากกรดที่ให้กลิ่นคล้ายผลไม้
3. Natural Process (Dry Process) ความพิเศษของกระบวนการแปรรูปกาแฟแบบ Natural หรือ Dry Process คือ การตากแห้งผลกาแฟเชอรี่โดยไม่มีการปอกเปลือก ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยเพิ่มรสชาติความหวาน และช่วยชูรสชาติจากผลไม้ของเมล็ดกาแฟแท้แต่ละรุ่นปนกัน เหมาะสำหรับแหล่งปลูกที่ขาดแคลนน้ำ เกษตรกรนำลูกเชอรี่กาแฟที่เก็บเกี่ยวแล้วนำมาแผ่และตากแดดนาน 20 วัน หรือจนกว่าจะแห้ง และนำไปสีเป็นกาแฟสารพร้อมคั่ว
2.การพัฒนาเครือข่ายการค้าโคเนื้อไทย-ลาว และสร้างกลไกความร่วมมือ ระดับพื้นที่จังหวัดพะเยา เชียงรายประเทศไทย กับ พื้นที่ใน 4 แขวงในพื้นที่ลาวตอนบน คือ แขวงบ่อแก้ว หลวงน้ำทา ไชยบุรี และ อุดมไชย สปป. ลาวและเครือข่ายการค้าโคเนื้อไทย-ลาว ในการยกระดับห่วงโซ่คุณค่าและพัฒนาเศรษฐกิจร่วมแนวชายแดน
มาตรฐานเมล็ดกาแฟ (มาตรฐานสินค้าเกษตร เมล็ดกาแฟอาราบิก้า, 2551 )
ในประเทศ สปป.ลาว จะนิยมปลูกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า มักปลูกในเขตที่เป็นพื้นที่ราบสูงเขตโบโลเวน เมืองปากซอง แขวงจำปาสัก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200-1,300 เมตร ดินแดนภูเขาไฟเก่าที่ดับสนิท มีดินที่อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยธาตุอาหาร ทำให้ได้เมล็ดกาแฟที่รสชาติดี พื้นที่ในการปลูกกาแฟเฉลี่ยต่อครอบครัวประมาณ 1-2 เฮกตา (5-12 ไร่) การเก็บเกี่ยวผลผลิตมักจะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน กันยายน-พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่เมล็ดกาแฟสุกเกือบทั้งต้น กาแฟที่เก็บในรอบแรกรสชาติจะยังไม่ค่อยดีเท่ารอบสอง เนื่องจากมีความสุขยังไม่เต็มที่ และอากาศยังไม่เหมาะสมต่อความสุกของเมล็ดกาแฟ
เมล็ดกาแฟ (green coffee) หรือที่เรียกทั่วไปว่ากาแฟสาร หรือเมล็ดกาแฟดิบ หมายถึง ผลกาแฟสุก (coffee cherry) ที่เอาส่วนของเปลือก (pericarp) ได้แก่ ผนังผลชั้นนอก (exocarp) ผนังผลชั้นกลาง (mesocarp) หรือที่เรียกว่าเนื้อและผนังผลชั้นใน (endocarp) หรือที่เรียกว่ากะลา (parchment) ออกแล้ว กาแฟกะลา (parchment coffee) หมายถึง ผลกาแฟสุกที่เอาส่วนของผนังผลชั้นนอกและผนังผลชั้นกลางออก แต่ยังคงมีผนังผลชั้นในหรือที่เรียกว่ากะลาติดอยู่
การพัฒนากลไกความร่วมมือ (Collaboration) ในพื้นที่เมืองชายแดนไทย-ลาว ในผลิตภัณฑ์จากกาแฟ
ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีเครือข่ายผู้ประกอบการ 4 กลุ่มที่มีความพร้อมต่อการพัฒนากลไกความร่วมมือ ดังนี้
1) กลุ่มพ่อค้ารับซื้อเมล็ดกาแฟในประเทศไทย เป็นเครือข่ายงานวิจัยที่สามารถรับออเดอร์การซื้อเมล็ดกาแฟจาก สปป.ลาว ตามระเบียบการนำเข้า – ออก สินค้าระหว่างประเทศ การเพิ่มปริมาณการสั่งซื้อหรือระบุประเภทของเมล็ดกาแฟที่ต้องการสามารถทำผ่านกลุ่มพ่อค้าได้สะดวกที่สุด
2) กลุ่มนักคั่วกาแฟ (Roaster) ที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นกลุ่มที่มีความรู้ความสามารถด้านการคั่วกาแฟในแต่ละแบบ และมีทักษะที่สามารถบอกรายละเอียดของรสชาติกาแฟที่จะได้ของแต่ละสายพันธุ์
3) กลุ่มผู้ประกอบการร้านกาแฟที่นิยมนำกาแฟสารมาคั่วและสร้างโปรไฟล์กาแฟคั่วของตนเองเพื่อสร้างเอกลักษณ์และการจัดจำร้านกาแฟ รวมถึงเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสายพันธ์กาแฟแต่ละประเภท
4) กลุ่มผู้ประกอบการร้านกาแฟที่นำกาแฟคั่วพร้อมชงจากนักคั่วกาแฟ หรือซื้อกาแฟคั่วสำเร็จมาจากแหล่งจำหน่ายอื่นๆ เป็นกลุ่มที่นำกาแฟที่คั่วแล้วแต่ละแบบมาบดเอง และจำหน่ายกาแฟดื่ม
การกำหนดนโยบายและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เหมาะสมในการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันและก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจของธุรกิจที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ของกาแฟในพื้นที่เมืองชายแดนไทย-ลาว
ผลการวิจัย พบว่า การร่วมดำเนินงานวิจัยระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาว ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และห่วงโซ่อุปทานของกาแฟท้องถิ่นเมืองปากซองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเมืองชายแดนไทย-ลาว โดยพื้นที่สำหรับการดำเนินงานคือเขตเมืองปากซอง บริเวณโบลาเวนที่มีการปลูกกาแฟพันธุ์ทริปิก้า
อันเป็นสายพันธุ์โบราณที่มีรสชาติถูกปาก ได้ทำการจัดพิธี MOU ระหว่างหน่วยงานใน สปป.ลาว กับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและส่งเสริมผู้ประกอบการ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมการวิจัยของกลุ่มภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มเกษตรกรในเขต สปป.ลาว ที่จะเป็นผู้ทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟสาร กาแฟคั่ว และบรรจุพร้อมจำหน่ายในไทยและสปป.ลาวได้ เพื่อเป็นการเปิดตลาดให้แก่ผู้ประกอบการในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง เกิดเป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ประเทศไทย กับ ศูนย์บริการวิสาหกิจขนาดน้อยและกลางแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมุ่งเน้นด้านความร่วมมือทางด้านวิชาการ และการบริการทางการเกษตร